สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างหรือลาออก

สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างหรือลาออก

สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างหรือลาออก

มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ HR อาจหลงลืม และพนักงาน ยังไม่ทราบ ว่าด้วย ตามมาตรา 67 (สิทธิ์ในวันหยุดพักร้อน เมื่อเลิกจ้างหรือลาออก) ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 67 : ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา 30 ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา หรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้น เป็นกรณีตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา 30 หลายๆท่านอาจยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด และพนักงานยังไม่ทราบ แต่ในฐานะ HR ต้องรู้กฎหมายข้อนี้เพื่อป้องกันปัญหาการเรียกร้องภายหลัง และแสดงความเป็นมืออาชีพกันซักเล็กน้อยกันครับ

หากได้อ่านแล้ว ความในมาตรา จะมีอยู่ 2 คำที่จะขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ

วันหยุดพักผ่อนสะสม

คือ วันหยุดพักผ่อนที่เกิดขึ้นแล้ว สำหรับพนักงานที่ทำงานมาครบปีในแต่ละปี (ตามกฎหมายโดยขั้นต่ำ คือ 6 วัน / ปี) โดยที่พนักงานยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ในวันหยุดนั้น (จึงเรียกว่าวันหยุดพักผ่อนสะสมน่ะแหละครับ)

 

วันหยุดพักผ่อนตามส่วน

คือ อัตราส่วนจำนวนวันหยุดพักผ่อน ตามระยะเวลาอายุการทำงานของพนักงานในระหว่างปี (จึงเรียกว่าตามส่วน) หากพนักงานทำงานครบปี ก็จะได้ ตามกฎหมายโดยขั้นต่ำ คือ 6 วัน / ปี

สมมุติว่า ในปีนั้น พนักงานปฏิบัติงาน 6 เดือน สิ้นสุดการทำงานในสิ้นเดือน มิถุนายน ดังนั้น การคำนวณตามอัตราส่วน คือ 6 วัน (จำนวนสิทธิ์วันหยุดพักผ่อน หากพนักงานทำงานครบปี) x 6 เดือน (พนักงานทำงานสิ้นสุดเดือน มิถุนายน) ÷ 12 เดือน = 3 วัน ** สรุปว่า สิทธิ์พักผ่อนตามส่วนของพนักงานที่เกิดขึ้นในปี คือ 3 วัน

** ฉะนั้น ในปีดังกล่าวหากพนักงานสิ้นสุดการทำงาน ต้องมาดูรายละเอียดตามสิทธิ์ของพนักงาน ดังนี้

 


เปลี่ยนออฟฟิศสู่ยุคดิจิตอล ปรับการลงเวลาเข้า-ออกงาน สู่ระบบลาออนไลน์ ด้วย ระบบลาออนไลน์ (Employee Self-Service)
สามารถลงเวลาเข้า-ออกงานผ่านมือถือได้ สะดวก รวดเร็ว ลาได้ทุกที่ ทุกเวลา พนักงานสามารถตรวจสอบสถานการณ์ลาได้ด้วยตนเอง สามารถตรวจสอบข้อมูลการมาทำงาน การลา ขาด สาย หรือออกก่อนเวลา และจำนวนวันลาคงเหลือได้ สามารถดูข้อมูลสรุปการมาทำงาน การลงเวลาทำงาน ประวัติการฝึกอบรม และวันหยุดประจำปี ในรูปแบบของรายงานได้


















ที่มา
:: https://www.facebook.com/105577534122729/posts/331041834909630/?d=n

 53637
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์