วิธีเช็คเงินสะสมประกันสังคม ตรวจสอบเงินสะสมเอง มาตรา 39,33 ได้ง่ายๆ

วิธีเช็คเงินสะสมประกันสังคม ตรวจสอบเงินสะสมเอง มาตรา 39,33 ได้ง่ายๆ



ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

เช็คเงินสะสมประกันสังคม มาตรา 39,33

การตรวจสอบเงินสะสมประกันสังคม สามารถเช็คได้จากระบบเช็คสิทธิประกันสังคม เป็นระบบในเว็บไซต์ที่สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอพด้วย หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ก็สามารถสมัครสมาชิกได้ง่ายมากๆ โดยใช้เพียงแค่บัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวนิดหน่อยเท่านั้น

สิ่งที่ต้องมี

  • หมายเลขบัตรประชาชน (13 หลัก)
  • เบอร์โทรศัพท์ของเราและข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล วันเกิด อีเมล

ขั้นตอนการเช็คเงินสะสมประกันสังคม

ขั้นตอนแรก เข้าสู่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/wpr/main/login ไปที่ระบบสมาชิก ผู้ประกันตน และกดสมัครสมาชิก (ถ้าเป็นสมาชิกอยู่ก่อนแล้วสามารถล็อคอินและข้ามไปข้อ 5 ได้เลย)

ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะให้กดยอมรับข้อตกลง แล้วเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและเลขบัตรประชาชน แล้วกดถัดไป

ขั้นตอนที่ 4 ระบบจะให้ยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยกดปุ่มขอรหัส OTP จากนั้นนำรหัสที่ได้รับข้อความในโทรศัพท์มากรอกเพื่อยืนยันตัวตน หลังจากนั้นเมื่อสมัครสมาชิกแล้ว ให้ไปเข้าสู่ระบบเช็คประกันสังคม โดยใช้เลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้ในข้อ 2

ขั้นตอนที่ 5 หลังเข้าสู่ระบบ ระบบจะพาไปที่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน” ให้กดที่ “การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ” เพื่อทำการเช็คเงินสะสมประกันสังคม

ขั้นตอนที่ 6 จะเข้าสู่หน้าแสดงเงินสงเคราะห์ชราภาพซึ่งจะแสดงตารางยอดเงินที่เราสมทบร่วมกับนายจ้างและรัฐบาลขึ้นมาในแต่ละปี โดยข้อมูลในบรรทัดสุดท้ายช่องยอดเงินรวมก็จะเป็นยอดเงินสะสมประกันสังคมที่เราต้องการตรวจสอบนั้นเอง

จะเห็นว่าไม่ว่าจะต้องการเช็คเงินสะสมประกันสังคม มาตรา 39 หรือมาตรา 33 ก็สามารถใช้ระบบนี้ตรวจเช็คเงินสะสมจากประกันสังคมได้เลย เนื่องจากระบบได้รวมไว้ให้แล้วในหน้านี้

ซึ่งเราก็จะสามารถตรวจสอบดูเงินสะสมประกันสังคมแยกเป็นเงินที่มาจากเงินกองที่เราจ่ายสมทบแต่ละเดือน, เงินที่มาจากนายจ้าง และเงินที่มาจากรัฐบาล (ถ้ามี) ได้จากตารางคำนวณเงินสงเคราห์ชราภาพเลย

เงินสะสมประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง คำนวณยังไง

ถึงแม้หลายๆท่านอาจต้องการตรวจสอบเงินประกันสังคมว่านายจ้างมีการจ่ายตรงไหม แต่ก็มีอีกข้อดีหนึ่งของก็คือการได้เช็คเงินชราภาพประกันสังคม เนื่องจากว่ายอดเงินประกันสังคมจะนำไปเป็นเงินสมทบชราภาพ ดังนั้นการตรวจเช็คเงินสะสมจากประกันสังคม ก็คือการเช็คยอดเงินประกันสังคมสะสมชราภาพนั้นเอง

โดยเงินสะสมชราภาพนี้เราจะได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และออกจากระบบประกันสังคมแล้ว (ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง)

โดยเงินชราภาพนี้จะแบ่งออกเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพตามระยะเวลาที่จ่ายเงินสะสม คือ

ได้รับ เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน) ถ้าจ่ายเงินสะสมประกันสังคมไปไม่ครบ 15 ปี (180 เดือน)

  • ถ้าจ่าย 1-11 เดือนจะได้จากเงินสมทบผู้ประกันตนอย่างเดียว (เงินสะสมที่เราเป็นคนจ่าย)
  • ถ้าจ่าย 12-179 เดือนจะได้จากเงินสมทบผู้ประกันตน (เงินสะสมที่เราเป็นคนจ่าย) + เงินสมทบจากนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน
  • หรือถ้าจ่ายเงินสะสมประกันสังคมมากกว่า 15 ปี (180 เดือน) ก็จะได้เป็นเงินบำนาญชราภาพ (เงินรายเดือน) แทน
  • โดยคิดเงินบำนาญชราภาพจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเงินสมทบ
  • และถ้าจ่ายเงินสมทบมาเกิน 180 เดือนจะบวกให้อีกปีละ 1.5%

ซึ่งทางประกันสังคมเองก็ได้ทำภาพรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพไว้ได้ดีเลย รวมถึงวิธีคำนวณด้วย ดังนี้







ตัวช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โปรแกรมบริหารงานบุคคล Prosoft HRMI
ระบบ Payroll ที่สามารถประมวลผลรายได้ / รายหัก ของพนักงาน เพื่อคำนวณรายได้สุทธิของพนักงานเพื่อที่องค์กรจะจ่ายเงินเดือน ให้กับพนักงานเมื่อถึงสิ้นเดือนตลอดจนถึงการคำนวณภาษี ประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ  และมีรายงานทางราชการ แบบฟอร์มต่างๆ ของประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับงาน HR ถูกต้องตามรูปแบบของราชการ ฝ่ายบุคคลสามารถ Print รายงานจากระบบ และนำส่งยื่นกับสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลากรอกแบบฟอร์มเอง เช่น แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03 แบบการแจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน สปส.1-03/1, แบบแจ้งพ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน สปส.6-09

.

แหล่งที่มา : https://nhaidee.com/
 364481
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
วันนี้ Prosoft HRMI เราจึงนำบทความมาฝากให้ทุกคนมาทำความรู้จัก 5 Soft Skills ที่คนทำงานยุคใหม่ควรมี เพื่อให้คุณสามารถทำงานเป็นนายเทคโนโลยีได้โดยที่ไม่ถูกแย่งงานไป
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์