จุดสังเกตของผู้สมัครที่น่าร่วมงานด้วย

จุดสังเกตของผู้สมัครที่น่าร่วมงานด้วย


แน่นอนว่าการพิจารณาผู้สมัครจาก Resume และการสัมภาษณ์งานอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะการประเมินเรื่อง Soft Skills ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จับต้องได้น้อยกว่าเรื่องบุคลิกภาพหรือความสามารถด้าน Hard Skills จึงทำให้ HR หลายคนอาจมีคำถามหรือเกิดความลังเลใจว่าควรเลือกผู้สมัครแบบไหนดี?

ต่อไปนี้ คือ 5 คุณสมบัติสำคัญที่เราอยากแนะนำให้เป็นจุดสังเกตของผู้สมัครที่น่าร่วมงานด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้ค้นพบบุคลากรที่มีคุณภาพและลดความเสี่ยงในการสรรหาพนักงานที่ผิดพลาดไปพร้อมๆ กัน

1.ทักษะการทำงานเป็นทีม

เนื่องจากงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้อื่นและการทำงานเป็นทีม ในบางตำแหน่งอาจรวมถึงการเข้าไปบริหารจัดการงานของผู้อื่นด้วย หรือแม้แต่งานที่หลายคนมองว่าทำคนเดียวได้ เช่น การทำบัญชีหรือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ยังจำเป็นต้องติดต่อขอข้อมูลจำนวนมากจากผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ ทักษะการทำงานเป็นทีมจึงเป็นสิ่งที่คุณควรมองหาจากผู้สมัครงานทุกคน


2.ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทักษะที่จำเป็นในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบและรูปแบบการทำงานในองค์กรต่างๆ ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย คนที่หยุดเรียนรู้จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง แม้ว่าจะเคยมีความรู้หรือประสบการณ์ทำงานที่สั่งสมมายาวนานแค่ไหนก็อาจถูกคนรุ่นหลังไล่ตามทันในท้ายที่สุด

ดังนั้น ความสามารถในการเรียนรู้จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของพนักงาน ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่การเรียนรู้ทักษะทางวิชาชีพใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วย


3.ทักษะในการสื่อสาร

ผู้สมัครงานทุกตำแหน่งควรมีทักษะในการสื่อสารขั้นพื้นฐานได้อย่างชัดเจนทั้งทางวาจาและลายลักษณ์อักษร รวมทั้งสามารถทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารได้อย่างถูกต้องด้วย แม้ว่าในบางตำแหน่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดได้ดี พูดเก่งหรือมีคารมคมคาย แต่ถ้าคนไหนสามารถทำได้ก็จะช่วยส่งเสริมให้ตัวเองดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ คุณอาจทดสอบผู้สมัครด้วยการให้ลองตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับโจทย์หรือหัวข้อที่กำหนด เพราะถ้าผู้สมัครมีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการสื่อสารย่อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากรับเข้ามาทำงานแล้ว


4.แรงจูงใจในตนเอง

พนักงานที่มีแรงจูงใจในตนเองมักจะชื่นชอบและหลงใหลในงานที่ทำมากจนกระทั่งอยากทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงรางวัลหรือผลตอบแทนมาเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า HR จะต้องพยายามค้นหาผู้สมัครที่ยอมอุทิศตนทำงานหนักอย่างเต็มที่โดยไม่บ่นหรือร้องขอเงินเดือนที่สูงขึ้น เพราะองค์กรที่ดีควรจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานที่มีศักยภาพอย่างสมเหตุสมผลรวมถึงการให้ความสำคัญกับเรื่อง Work Life Balance ด้วย


5.เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้

วัฒนธรรมของแต่ละองค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันได้ ทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรจึงไม่ใช่แค่เรื่องพื้นฐานง่ายๆ เช่น การรับประทานอาหารกลางวันหรือไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานหลังเลิกงาน แต่เป็นเรื่องของการทำความเข้าใจ ยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบ เช่น การแต่งกาย เวลาเข้าออกงาน และรูปแบบการทำงานซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละทีม แม้จะอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ตาม

ดังนั้น การสรรหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสอดคล้องและเข้ากันได้กับทีมงานเดิมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดเวลาในการปรับตัว ป้องกันปัญหาความขัดแย้ง ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา : Link

 329
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์