หนังสือสัญญาจ้างงาน ก่อนเซ็นต้องดูอะไรบ้าง

หนังสือสัญญาจ้างงาน ก่อนเซ็นต้องดูอะไรบ้าง


ในวิถีของการทำงาน เมื่อเรามีคุณสมบัติตรงตามที่นายจ้างต้องการ และสามารถผ่านการสัมภาษณ์ จนสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งที่ต้องการได้แล้ว เอกสารชิ้นแรก ๆ ที่เราจะได้จากบริษัทหรือหัวหน้างานที่เราสมัครงานคือ “หนังสือสัญญาจ้างงาน” ที่เราจะต้องเซ็นเพื่อให้กระบวนการเริ่มทำงานสมบรูณ์ แต่ก่อนที่จะเซ็นเอกสารวันนี้เรามาดูกันว่า ก่อนจะเซ็นเอกสารฉบับนี้ เราต้องทำอย่างไรบ้าง

1.อ่านสองรอบเป็นอย่างน้อย

สิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือการอ่านสัญญาโดยละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดต่าง ๆ เงื่อนไข สวัสดิการ หรือว่ารายได้ เราต้องอ่านให้ละเอียดรอบคอบ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อเราตลอดระยะเวลาในการทำงานที่นี่ ดังนั้นเราควรอ่านให้ละเอียด ชนิดที่ว่าต้องอ่านทุกบรรทัดห้ามข้ามโดยเด็ดขาด

2.ตำแหน่งและความรับผิดชอบต้องชัดเจน

สิ่งที่สองที่ควรดูในสัญญาจ้างคือ ตำแหน่งและความรับผิดชอบของเรา ว่าตรงกับตำแหน่งที่เราได้สัมภาษณ์หรือไม่ หากไม่ตรงควรที่จะสอบถามฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทโดยทันที เพื่อสอบถามถึงรายละเอียดของตำแหน่งงานและความรับผิดชอบให้ชัดเจน เนื่องจากหากเราหลับหูหลับตาเซ็นสัญญา โดยที่ไม่อ่านรายละเอียดของงาน อาจจะได้ทำงานคนละตำแหน่งที่สมัครเข้ามาก็ได้

นอกจากนี้ค่าตอบแทนรวมไปถึงค่าล่วงเวลาในการทำงาน ก็ควรดูให้ชัดเจนว่า ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือนายจ้างระบุไว้หรือไม่ หากว่าไม่ตรงกับที่ได้ตกลงกันไว้ ก็ควรที่จะทักท้วงโดยทันที 

3.เงื่อนไขและกฎของบริษัท
สัญญาจ้างงานนอกจากจะระบุรายละเอียดของงานแล้ว ยังมีเรื่องของเงื่อนไขและกฎ ที่เราจะต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นเวลาเข้างาน ชั่วโมงในการทำงาน วันหยุด วันลา ระยะเวลาในการทดลองงาน รวมไปถึงเงื่อนไขที่หากเราลาออกจากบริษัท เราจะต้องแจ้งแผนกทรัพยากรบุคคล ล่วงหน้ากี่วัน เป็นต้น 

4.สวัสดิการต่าง ๆ 

แม้ว่าในการรับสมัครงานหรือสัมภาษณ์งาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะแจ้งให้เราทราบถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัทให้ผู้สมัครรับทราบแล้ว แต่ว่าเราควรที่จะดูว่าในสัญญาจ้างนั้นมีสวัสดิการต่าง ๆ ตรงกับที่ได้รับแจ้งหรือไม่ รวมถึงเรื่องของภาษีและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะทำให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น 

ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการในเรื่องของสุขภาพ การกู้ยืมสินเชื่อต่าง ๆ การลาคลอด การเดินทาง รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ที่หากเราอ่านไม่ถี่ถ้วนอาจจะเสียสิทธิในเรื่องเหล่านี้ก็เป็นได้

5.วันแรกที่จะต้องเข้าทำงาน 

การทำงานวันแรกนั้นมีความหมายอย่างมากต่อหน้าที่การงานและสภาพจิตใจ ดังนั้นไม่มีใครที่อยากจะทำงานสายตั้งแต่วันแรกหรือหนักกว่านั้นคือลืมว่า วันแรกที่ต้องทำงานวันไหน ซึ่งเรื่องนี้จะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับตัวเราตลอดระยะเวลาในการทำงานที่นี่ก็เป็นได้ 

6.เก็บสำเนาเอาไว้ด้วย

หลังจากที่เราเซ็นหนังสือสัญญาจ้างงานแล้ว เราควรที่จะที่เก็บสำเนาของเอกสารเอาไว้ เนื่องจากในบางครั้งหากเกิดข้อพิพาทขึ้นมา เราก็สามารถที่จะอ้างอิงกฎรวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุเอาไว้ในสัญญาได้ จะทำให้เราไม่เสียเปรียบ

แต่ในขณะเดียวกันสัญญาจ้างงานก็ไม่ใช่เอกสารที่สามารถเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะได้ เพราะเอกสารประเภทนี้ มักที่จะมีความลับและข้อมูลของบริษัทอยู่ การที่นำเอาเอกสารเหล่านี้มาเปิดเผยอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องขึ้นมาได้ 

7.เซ็นหนังสือสัญญาจ้างงานก่อนลาออกจากที่ทำงานเก่าเสมอ

หลาย ๆ บริษัทรวมถึงนายจ้างแม้ว่าจะมีการตกลงจ้างงานกันแบบปากเปล่าแล้ว แต่ก็มีหลาย ๆ ครั้งที่พอใกล้จะถึงวันที่จะเริ่มงานก็มีการยกเลิกการจ้างงานก็มี ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องตัวเราเอง เราควรที่จะมีการเซ็นต์สัญญาในที่ทำงานใหม่ทุกครั้งก่อนที่จะเข้าทำงาน เพราะเป็นการการันตีว่าเราได้เข้าทำงานอย่างแน่นอน 

ากคุณไม่ทำเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากเจอ อย่างการลาออกไปแล้ว แต่กลับไม่ได้ทำงาน เนื่องจากการยกเลิกการจ้างงานหรือปัจจัยอื่น ๆ  ซึ่งหากคุณมีเงินเก็บสำรองอาจจะพอเอาตัวรอดไปได้จนกว่าจะหางานใหม่ได้ แต่หากคุณไม่ได้มีเงินสำรองเก็บไว้ ชีวิตของคุณอาจจะเข้าสู่วิกฤตได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามเราควรดูในส่วนของวันที่เริ่มงานกับวันที่ลาออกให้ดีว่า สามารถเริ่มงานได้ในวันไหน ไม่งั้นอาจจะเกิดปัญหาตามมาก็เป็นได้ 

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา : Link

 872
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์