• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • นายจ้างต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน หรือ ไม่จ้างได้ไหม

นายจ้างต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน หรือ ไม่จ้างได้ไหม

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • นายจ้างต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน หรือ ไม่จ้างได้ไหม

นายจ้างต้องจ้างคนพิการเข้าทำงาน หรือ ไม่จ้างได้ไหม

การจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงการประกอบอาชีพ ได้ใช้ศักยภาพของตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมาตราที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ ได้แก่ มาตรา 33 34 35 36 37 38 และ 39 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

หลักเกณฑ์การจ้างงานคนพิการ กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร ?
ในเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานนะ แต่ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยมาตรา 33 และกฎกระทรวงที่ออกภายใต้กฎหมายฉบับนี้

หลักเกณฑ์ในการจ้างหลัก ๆ คือ
     1.  นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป
     2.  ต้องรับคนพิการที่สามารถทำงานทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดเข้าทำงาน
     3.  สัดส่วนของการรับคือ ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการ 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน เศษของ 100 ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 1 คน เช่น มีลูกจ้าง 151 คน ก็ต้องจ้างคนพิการ 2 คน
     4.  การนับจำนวนลูกจ้างให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของ ทุกปี
     5. กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีหน่วยงาน หรือสำนักงานสาขาในจังหวัดเดียวกัน ให้นับรวมลูกจ้างของหน่วยงานหรือสำนักงานทุกแห่งในจังหวัดนั้นเข้าด้วยกัน

ในกรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงาน จะต้องดำเนินการอย่างไร ?
       1. ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ซึ่งเงินที่นำส่งก็คำนวณจากอัตราค่าจ้างต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับครั้งหลังสุดในปีก่อนที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่รับเข้าทำงาน
       2. หากไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนฯ หรือส่งล่าช้า หรือส่งไม่ครบถ้วน ต้องเสียต้องเบี้ย 7.5 ต่อปีของเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง แต่กรณีที่รับคนพิการเข้าทำงาน หรือนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ได้รับยกเว้นภาษี เป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการหรือเงินที่ส่งเข้ากองทุน
.....
Credit : หนังสือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน รศ. ตรีเนตร สาระพงษ์

ขอบคุณที่มา : http://area3.labour.go.th

 1476
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์