จ้างพนักงานกะกลางคืน (Night shift) ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไหม

จ้างพนักงานกะกลางคืน (Night shift) ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไหม



โดยปกติแล้วตามกฎหมายแรงงานในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ในมาตราที่ 23 กำหนดว่า ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ (Regular Working Times) ต่อวัน ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาพัก โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังทำงานมาไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ได้ตามแต่ที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หลายบริษัทจะนิยมกำหนดเวลาทำงานไว้ที่ 9 ชั่วโมง ซึ่งรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมงด้วย เช่น กำหนดเวลาทำงานไว้ที่ 09.00 – 18.00 น. ตามเวลาทำงานปกติของคนทั่วไป หรือเวลา 22.00 – 06.00 น. ซึ่งจัดว่าเป็นการทำงานกะกลางคืน


ค่าจ้างสำหรับการทำงานล่วงเวลา

ค่าจ้างสำหรับการทำงานล่วงเวลา คือ ถ้าทำงานมากเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (ไม่รวมเวลาพัก) ทำงานเกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ไม่รวมเวลาพัก) หรือทำงานในวันหยุดที่กฎหมายระบุไว้ว่า ต้องมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งสามารถนำไปรวมเป็นวันหยุดสะสมก็ได้ ต้องมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่ต่ำกว่า 6 วันต่อปี ถ้าทำงานเกินหรือต้องทำงานในวันหยุดเหล่านี้ด้วย นายจ้างจะต้องค่าล่วงเวลาอย่างน้อย 1.5 เท่าของค่าจ้างปกติ


ค่าจ้างสำหรับคนทำงานกลางคืน

ส่วนค่าจ้างสำหรับคนทำงานกะกลางคืน ตามกฎหมายแล้วไม่ได้มีข้อบังคับว่าคนที่ทำงานกะกลางคืน (Night shift) จะได้ค่าจ้างเพิ่ม หรือมากกว่าคนที่ทำงานกะกลางวัน เพราะถือว่ายังมีชั่วโมงงานตามที่กฎหมายกำหนด และนายจ้างกับลูกจ้างทำข้อตกลงร่วมกันและรับรู้กันทั้งสองฝ่าย แต่เพราะว่างานกะกลางคืนไม่ได้เป็นช่วงเวลาทำงานที่คนส่วนใหญ่อยากทำนัก บางคนที่กังวลเรื่องปัญหาสุขภาพก็มักจะไม่อยากทำงานกะกลางคืน เลยทำให้หลายบริษัทต้องหาแรงจูงใจเพื่อให้ได้พนักงานกะดึก ด้วยการเสนอค่ากะ หรือค่าจ้างเพิ่มเติมให้ จากสถิติแล้วมักจะให้เพิ่มขึ้น 1.1 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างปกติ

สรุปแล้วการจ้างงานในกะกลางคืน (Night shift) แทบจะไม่ได้มีข้อบังคับที่แตกต่างไปจากการจ้างงานให้ช่วงเวลาปกติเลย ค่าจ้างเพิ่มเติมก็จัดว่าเป็นสิ่งดึงดูดให้คนอยากมาทำงานในกะกลางคืนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และเป็นเหมือนสินน้ำใจตอบแทนชั่วโมงการทำงานที่ผิดไปจากนาฬิกาชีวิตของคนส่วนใหญ่ อยู่ที่คุณและลูกจ้างของคุณตกลงค่าจ้างและเวลาการทำงานที่พอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายโดยที่ยังอยู่ในขอบเขตของกฎหมายอยู่ก็เพียงพอแล้ว


ที่มา JobsDB

 1304
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์