6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน


กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกจ้างที่ออกจากงานแล้วว่างงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มีการกระทำความผิดใดๆ

แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำความผิด หรือมีเหตุบางประการที่เข้าข่ายเงื่อนไขทำให้นายจ้างสามารถให้ออกจากงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างจะไม่สามารถรับสิทธิชดเชย หรือทดแทนใดๆ ได้ ตามกรณีต่อไปนี้

1. ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจากจ้างกรณีทุตจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง มักเกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง

2. จงใจทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย

ลูกจ้างที่ดำเนินการต่างๆ โดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัท ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง

การทำงานแต่ละที่ย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นหากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดซ้ำๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

4. ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกัน 7 วันทำงาน โดยไม่มีเหตุอันควร

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่สามารถติดต่อได้ต่อเนื่อง 7 วันทำงาน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ ถือว่าเข้าข่ายถูกเลิกจ้างได้โดยไม่ได้รับสิทธิชดเชยใดๆ

5. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง

ความประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทําการใดๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทํา
นายจ้างที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างที่กระทำการใดๆ โดยขาดความระมัดระวัง ทั้งที่สามารถคาดการณ์เห็นได้ชัดว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างสามารถแจ้งเลิกจ้างและไม่จ่ายเงินชดเชยกับลูกจ้างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ลูกจ้างที่กระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิให้ออกจากงานได้ทันทีโดยปริยาย และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชยหรือเงินทดแทนต่างๆ ได้


การถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นฝันร้ายของหลายๆ คน ยิ่งกรณีที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าอาจทำให้การใช้ชีวิตหลังออกจากงานนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ยิ่งการออกโดยมีความผิดติดตัว นอกจากจะเสียโอกาสในหน้าที่การงานแล้ว ยังเสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ด้วย

เงินทดแทนกรณีว่างงานคืออะไร?

เงินทดแทนกรณีว่างงานคือสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา โดยเมื่อผู้ประกันตนดำเนินการขึ้นทะเบียนว่างงานเรียบร้อยแล้ว และมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามข้อกำหนด สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน

 

ที่มา www.dharmniti.co.th

 8031
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดการพนักงานที่ทำงานแบบกะเป็นงานที่ท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะงานของพนักงานแบบกะ พนักงานบางราย ทำงานเวลาไม่ตรงกัน เลิกงานไม่ตรงกัน จะเห็นได้ว่า แค่ HR ต้องจัดการกับเงินเดือนพนักงานที่ทำงานกะปกติ ก็แทบปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ไหนจะต้องอาศัยความแม่นยำและละเอียดอ่อนในการคำนวณเงินเดือน การคิดวันขาด ลา มา สายอีก ยิ่งถ้าเป็นองค์กรใหญ่ๆ นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลยทีเดียว ดังนั้น การที่มีตัวช่วยอย่างโปรแกรมเงินเดือน HRMI เข้ามาช่วย HR จัดการปัญหาต่างๆ ของพนักงานที่ทำงานแบบกะ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนของพนักงาน  เพื่อลดความเสี่ยงคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทได้
หลายๆ องค์กรตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลไว้ที่อัตราการลาออกของพนักงานในองค์กร โดยมีการกำหนดอัตรามาตรฐานไว้ที่อัตราเดียวกับอุตสาหกรรมบ้าง หรือกำหนดให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาบ้าง แต่ผมยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนที่กำหนดเป้าหมายอัตราการลาออกของพนักงานเท่า กับ 0 จริงๆ นะครับ
โปรแกรมบริหารงานบุคคล (Human Resource Management Information System หรือ HRMI) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีและการบริหารงานบุคคล รวมถึงรวบรวมระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่สามารถช่วยงาน HR ได้ เช่น ระบบสมัครงานออนไลน์ระบบลาออนไลน์ระบบฝึกอบรมพนักงาน,ระบบสวัสดิการ, ระบบประเมินผล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบุคคลและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละบบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่ จะสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น ล้วนต้องต้องทำงานภายใต้ข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายบริษัท กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหนึ่งกฎหมายที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับนายจ้าง HR และพนักงานโดยตรง คือ กฎหมายแรงงาน

จากกฎหมายแรงงานในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ในมาตราที่ 23 กำหนดว่า ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ (Regular Working Times) ต่อวัน ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาพัก โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังทำงานมาไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ได้ตามแต่ที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หลายบริษัทจะนิยมกำหนดเวลาทำงานไว้ที่ 9 ชั่วโมง ซึ่งรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมงด้วย เช่น กำหนดเวลาทำงานไว้ที่ 09.00 – 18.00 น. ตามเวลาทำงานปกติของคนทั่วไป หรือเวลา 22.00 – 06.00 น. ซึ่งจัดว่าเป็นการทำงานกะกลางคืน
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์