ทำความรู้จักกับ HR Tech

ทำความรู้จักกับ HR Tech



HR Tech หรือ HR Technology คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของ HR ทำให้กระบวนการทำงานทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดกลายเป็นดิจิทัล ตั้งแต่การเปิดรับสมัครงาน, ขั้นตอนการคัดเลือกบุคลากร, การเชิญสัมภาษณ์ ไปจนถึง การจัดทำเอกสารตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดขั้นตอนสำหรับพนักงานใหม่

HR Tech ไม่ได้มีประโยชน์แค่สำหรับพนักงานใหม่เท่านั้น เพราะในสถานการณ์ที่ใครๆ ก็ยังทำงานแบบ WFH (Work From Home) จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประโยชน์ของ HR Tech ยังครอบคลุมไปทั่วทั้งองค์กรสำหรับพนักงานทุกคน รวมถึงเพิ่มความสะดวกให้กับนายจ้างด้วย

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีหลายๆ แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาเพื่ออัพเกรด productivity ภายในองค์กร ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และเพื่อให้ HR ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียด และรายละเอียดค่อนข้างเยอะ อย่างเรื่องสวัสดิการของพนักงาน หรือ ประกันสุขภาพ ฯลฯ

ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่เพิ่มความสะดวกให้กับพนักงาน อย่างเช่น แพลตฟอร์มระบบลางานออนไลน์ Employee Self-Service (ESS)  ที่ช่วยขออนุมัติการลางาน (ลาป่วย, ลากิจ, ลาพักร้อน) จนไปถึงการ check-in และ check-out งานตามเวลาเหมือนว่าเรานั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ และยังมีแพลตฟอร์มที่รองรับสำหรับการสัมภาษณ์งานระยะไกลด้วย ซึ่งในอนาคตแพลตฟอร์มในลักษณะนี้ คาดว่าจะมีมากขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น 

สวัสดิการสุขภาพ ที่ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่ ที่ HR ควรใส่ใจ

ไม่ว่าจะยุคไหน หรือ generation ใด ประกันสุขภาพยังคงเป็นที่ต้องการของพนักงานมากที่สุด และสำหรับยุคของ HR Tech ประกันสุขภาพเองก็มีการ transform ให้ตอบโจทย์การพบแพยท์แบบ real time ในแบบ anywhere, anytime โดยเฉพาะในยุคของเทรนด์ Work From Home ประกันสุขภาพจึงควรมาพร้อมกับการพบแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือศัพท์ที่เรียกกันทั่วไปว่า Telemedicine ที่กำลังเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกำลังจะกลายเป็นการพบแพทย์รูปแบบใหม่ที่ทุกคนให้ความสนใจ

อย่างในไทยเองก็มีการพบแพทย์แบบ Real time กันแล้ว เช่น แอปพลิเคชัน vHealth โดย เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ (Aetna) ซึ่งเป็นบริการ Telemedicine รายแรกๆ ในไทยที่พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ใครที่มีประกันสุขภาพของเอ็ทน่า จะสามารถพบแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน  ผู้ป่วยสามารถใช้แอปพลิเคชัน พบแพทย์จากสถานที่ใดก็ได้* เสมือนพบแพทย์จริงๆ เมื่อพบว่าป่วย แพทย์จะจ่ายยา และมีบริการส่งยาให้ภายใน 3-4 ชั่วโมง ตามสถานที่ที่ผู้ป่วยแจ้งไว้* ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงานรวมถึงครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงและควบคุมสูงสุด บริการลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดเวลาการเดินทางไปโรงพยาบาล ไม่ต้องต่อคิวเป็นเวลานานๆ ลดความเสี่ยงในการออกไปพบเจอเชื้อโรคข้างนอก เพิ่มความสะดวกให้กับพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างไม่ติดขัด

*บริการปรึกษาแพทย์ผ่านวีเฮลท์สำหรับแผนประกันสุขภาพอัลตร้า แคร์แพลทินัมบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์เพอร์ซันนัลแคร์โอปอลเพิร์ลยูไอซีเอ็มพลอยยี พลัส / วีเฮลท์ให้บริการเวลา 08.00 – 20.00 น. จันทร์ – ศุกร์ (ยกว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) บริการส่งยาในกรุงเทพและหลายจังหวัดในประเทศไทย

การพบแพทย์ยุคใหม่อย่าง vHealth ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เข้ากับยุค HR Tech ซึ่งมีเป้าหมายที่เน้นความสะดวกสบายเป็นพื้นฐานเหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ serve กับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค อย่าง vHealth ที่นอกจากเราจะโทรปรึกษาหรือพูดคุยกับแพทย์ทาง Video Call ได้แล้ว ยังสามารถนัดหมายกับแพทย์ครั้งต่อไปได้เลยโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ที่สำคัญผู้ใช้บริการสามารถรอรับใบสั่งยา, ใบรับรองแพทย์ หรือ ใบส่งตัว ได้เลยจากที่บ้าน เพราะทาง vHeath จะส่งเอกสารโดยตรงเข้าไปยังแอปฯ บนสมาร์ทโฟนของเราเอง

‘มิลเลนเนียลส์ – Gen Z’ สำคัญต่อทิศทางของ HR Tech ในอนาคต

และอย่างที่พูดไปว่า ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัลและก็เป็นยุคของกลุ่ม Gen ใหม่ๆ อย่างกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (millennials) หรือคนที่อายุระหว่าง 21-37 ปี และ Gen Z (อายุ 10-24 ปี) ที่การใช้ชีวิตอยู่กับมือถือ ติดอยู่กับหน้าจอส่วนใหญ่ ดังนั้น วิถีชีวิตหรือความเคลื่อนไหวต่างๆ แม้แต่การสมัครงาน หรือการสัมภาษณ์งาน ก็ต้องอิงกับพฤติกรรมคนปัจจุบันด้วย

HR Tech คือเทรนด์ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลกไม่ใช่แค่ในไทย อย่างที่ Rhonda Marcucci รองประธานฝ่าย HR และที่ปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์เทคโนโลยีจาก Gallagher ที่พูดว่า สถานการณ์การระบาดทำให้หลายๆ องค์กรต้องปรับวิธีการรับสมัครคน จัดสรรคน และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุดสำหรับสิทธิประโยชน์ของพนักงาน

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้มีกระแส HR Tech เกิดขึ้น และการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็คือ

  • รองรับการทำงานระยะไกล (Remote Work) – ตามแนวโน้มในอนาคตเป็นไปได้ที่จะเห็นหลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานทำงานระยะไกล ‘ตลอดไป’ หรือใช้เวลาในออฟฟิศน้อยลงแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น นอกจากนี้อาจมีการลงทุนในระยะยาวสำหรับแพลตฟอร์มเพื่อ HR หรือเพื่อคนในองค์กรให้การสื่อสารยังคงเหมือนเดิม ไม่ติดขัด เช่น แพลตฟอร์มที่ช่วยซัพพอทเกี่ยวกับการประชุมออนไลน์ หรือ การอัพเดทงาน หน้าที่ต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์ม รวมไปถึง แพลตฟอร์มที่ช่วยให้พนักงานสามารถเช็คเงินเดือนเข้า-ออกได้ผ่านสมาร์โฟน เป็นต้น
  • เพื่อสุขภาพของพนักงานที่ดีขึ้น (Wellness) – เพราะสุขภาพกายและจิตใจที่ดีมีส่วนเกี่ยวข้องไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงผลลัพธ์ ดังนั้นการทำงานของคนยุคใหม่ องค์กรจะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำยังไงก็ได้ให้พนักงานมี work-life balance ที่ดี ดังนั้น โปรแกรมฟื้นฟูสภาพจิตและร่างกายทางออนไลน์จึงได้รับความสนใจมากขึ้นผ่านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน เช่น การเช็คสภาพร่างกาย-จิตใจ, การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดี (Financial Well-being), สร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work Life Balance) การจัดอบรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี และ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
  • สร้างความสะดวกให้กับ Gig economy (กลุ่มคนที่ทำงานอิสระ) – HR Tech มีส่วนทำให้กลุ่มฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มคนที่ทำงานอิสระมีตัวเลือกมากขึ้น ทำงานได้สะดวกขึ้น ซึ่งทางฝั่งของบริษัทเองก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะ HR Tech จะช่วยให้บริษัทเข้าถึงกลุ่มคนที่มีทักษะสูงมากขึ้น มีทักษะที่หลากหลาย หรือเข้าถึงทีมงานระดับโลกได้ เพราะความอิสระและง่ายในการคัดเลือกคน มี extra ที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนมาเป็น HR ดิจิทัล เช่น ใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์บุคคลได้เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น รวมไปถึงใช้เครื่องมือในการติดตามค่าใช้จ่ายจากการจ้างงาน เป็นต้น
  • การเพิ่มสกิลที่จำเป็นแบบ virtual – ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม หรืออัพสกิลที่สำคัญๆ ให้กับพนักงาน HR Tech สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า virtual หรือ ภาพเสมือนจริง ซึ่งสามารถเพิ่มความเข้าใจ และสร้างประสบการณ์ที่ดีในระหว่างกิจกรรมขององค์กรได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของ HR ซึ่งไม่ว่าจะเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีไหนก็ตาม ล้วนมีประโยชน์และให้คุณค่ากับองค์กรทั้งสิ้น เพียงแต่จุดเริ่มต้นแรกที่จำเป็นต้องปรับกันก่อนก็คือ ความเข้าใจว่า HR Tech มีความสำคัญ และจำเป็นต้องปรับก่อนจะถูกดิจิทัล disrupt ไปจนหมด ขณะที่องค์กรควรปรับทิศทางการทำงานโฟกัสไปที่ work-life balance และต้องฉลาดใช้เทคโนโลยีที่ช่วยเราได้ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : https://www.marketingoops.com

 456
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์