ทำความรู้จักกับ HR Tech

ทำความรู้จักกับ HR Tech



HR Tech หรือ HR Technology คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของ HR ทำให้กระบวนการทำงานทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดกลายเป็นดิจิทัล ตั้งแต่การเปิดรับสมัครงาน, ขั้นตอนการคัดเลือกบุคลากร, การเชิญสัมภาษณ์ ไปจนถึง การจัดทำเอกสารตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดขั้นตอนสำหรับพนักงานใหม่

HR Tech ไม่ได้มีประโยชน์แค่สำหรับพนักงานใหม่เท่านั้น เพราะในสถานการณ์ที่ใครๆ ก็ยังทำงานแบบ WFH (Work From Home) จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประโยชน์ของ HR Tech ยังครอบคลุมไปทั่วทั้งองค์กรสำหรับพนักงานทุกคน รวมถึงเพิ่มความสะดวกให้กับนายจ้างด้วย

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีหลายๆ แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาเพื่ออัพเกรด productivity ภายในองค์กร ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และเพื่อให้ HR ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียด และรายละเอียดค่อนข้างเยอะ อย่างเรื่องสวัสดิการของพนักงาน หรือ ประกันสุขภาพ ฯลฯ

ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่เพิ่มความสะดวกให้กับพนักงาน อย่างเช่น แพลตฟอร์มระบบลางานออนไลน์ Employee Self-Service (ESS)  ที่ช่วยขออนุมัติการลางาน (ลาป่วย, ลากิจ, ลาพักร้อน) จนไปถึงการ check-in และ check-out งานตามเวลาเหมือนว่าเรานั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ และยังมีแพลตฟอร์มที่รองรับสำหรับการสัมภาษณ์งานระยะไกลด้วย ซึ่งในอนาคตแพลตฟอร์มในลักษณะนี้ คาดว่าจะมีมากขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น 

สวัสดิการสุขภาพ ที่ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่ ที่ HR ควรใส่ใจ

ไม่ว่าจะยุคไหน หรือ generation ใด ประกันสุขภาพยังคงเป็นที่ต้องการของพนักงานมากที่สุด และสำหรับยุคของ HR Tech ประกันสุขภาพเองก็มีการ transform ให้ตอบโจทย์การพบแพยท์แบบ real time ในแบบ anywhere, anytime โดยเฉพาะในยุคของเทรนด์ Work From Home ประกันสุขภาพจึงควรมาพร้อมกับการพบแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือศัพท์ที่เรียกกันทั่วไปว่า Telemedicine ที่กำลังเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกำลังจะกลายเป็นการพบแพทย์รูปแบบใหม่ที่ทุกคนให้ความสนใจ

อย่างในไทยเองก็มีการพบแพทย์แบบ Real time กันแล้ว เช่น แอปพลิเคชัน vHealth โดย เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ (Aetna) ซึ่งเป็นบริการ Telemedicine รายแรกๆ ในไทยที่พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ใครที่มีประกันสุขภาพของเอ็ทน่า จะสามารถพบแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน  ผู้ป่วยสามารถใช้แอปพลิเคชัน พบแพทย์จากสถานที่ใดก็ได้* เสมือนพบแพทย์จริงๆ เมื่อพบว่าป่วย แพทย์จะจ่ายยา และมีบริการส่งยาให้ภายใน 3-4 ชั่วโมง ตามสถานที่ที่ผู้ป่วยแจ้งไว้* ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงานรวมถึงครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงและควบคุมสูงสุด บริการลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดเวลาการเดินทางไปโรงพยาบาล ไม่ต้องต่อคิวเป็นเวลานานๆ ลดความเสี่ยงในการออกไปพบเจอเชื้อโรคข้างนอก เพิ่มความสะดวกให้กับพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างไม่ติดขัด

*บริการปรึกษาแพทย์ผ่านวีเฮลท์สำหรับแผนประกันสุขภาพอัลตร้า แคร์แพลทินัมบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์เพอร์ซันนัลแคร์โอปอลเพิร์ลยูไอซีเอ็มพลอยยี พลัส / วีเฮลท์ให้บริการเวลา 08.00 – 20.00 น. จันทร์ – ศุกร์ (ยกว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) บริการส่งยาในกรุงเทพและหลายจังหวัดในประเทศไทย

การพบแพทย์ยุคใหม่อย่าง vHealth ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เข้ากับยุค HR Tech ซึ่งมีเป้าหมายที่เน้นความสะดวกสบายเป็นพื้นฐานเหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ serve กับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค อย่าง vHealth ที่นอกจากเราจะโทรปรึกษาหรือพูดคุยกับแพทย์ทาง Video Call ได้แล้ว ยังสามารถนัดหมายกับแพทย์ครั้งต่อไปได้เลยโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ที่สำคัญผู้ใช้บริการสามารถรอรับใบสั่งยา, ใบรับรองแพทย์ หรือ ใบส่งตัว ได้เลยจากที่บ้าน เพราะทาง vHeath จะส่งเอกสารโดยตรงเข้าไปยังแอปฯ บนสมาร์ทโฟนของเราเอง

‘มิลเลนเนียลส์ – Gen Z’ สำคัญต่อทิศทางของ HR Tech ในอนาคต

และอย่างที่พูดไปว่า ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัลและก็เป็นยุคของกลุ่ม Gen ใหม่ๆ อย่างกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (millennials) หรือคนที่อายุระหว่าง 21-37 ปี และ Gen Z (อายุ 10-24 ปี) ที่การใช้ชีวิตอยู่กับมือถือ ติดอยู่กับหน้าจอส่วนใหญ่ ดังนั้น วิถีชีวิตหรือความเคลื่อนไหวต่างๆ แม้แต่การสมัครงาน หรือการสัมภาษณ์งาน ก็ต้องอิงกับพฤติกรรมคนปัจจุบันด้วย

HR Tech คือเทรนด์ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลกไม่ใช่แค่ในไทย อย่างที่ Rhonda Marcucci รองประธานฝ่าย HR และที่ปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์เทคโนโลยีจาก Gallagher ที่พูดว่า สถานการณ์การระบาดทำให้หลายๆ องค์กรต้องปรับวิธีการรับสมัครคน จัดสรรคน และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุดสำหรับสิทธิประโยชน์ของพนักงาน

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้มีกระแส HR Tech เกิดขึ้น และการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็คือ

  • รองรับการทำงานระยะไกล (Remote Work) – ตามแนวโน้มในอนาคตเป็นไปได้ที่จะเห็นหลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานทำงานระยะไกล ‘ตลอดไป’ หรือใช้เวลาในออฟฟิศน้อยลงแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น นอกจากนี้อาจมีการลงทุนในระยะยาวสำหรับแพลตฟอร์มเพื่อ HR หรือเพื่อคนในองค์กรให้การสื่อสารยังคงเหมือนเดิม ไม่ติดขัด เช่น แพลตฟอร์มที่ช่วยซัพพอทเกี่ยวกับการประชุมออนไลน์ หรือ การอัพเดทงาน หน้าที่ต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์ม รวมไปถึง แพลตฟอร์มที่ช่วยให้พนักงานสามารถเช็คเงินเดือนเข้า-ออกได้ผ่านสมาร์โฟน เป็นต้น
  • เพื่อสุขภาพของพนักงานที่ดีขึ้น (Wellness) – เพราะสุขภาพกายและจิตใจที่ดีมีส่วนเกี่ยวข้องไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงผลลัพธ์ ดังนั้นการทำงานของคนยุคใหม่ องค์กรจะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำยังไงก็ได้ให้พนักงานมี work-life balance ที่ดี ดังนั้น โปรแกรมฟื้นฟูสภาพจิตและร่างกายทางออนไลน์จึงได้รับความสนใจมากขึ้นผ่านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน เช่น การเช็คสภาพร่างกาย-จิตใจ, การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดี (Financial Well-being), สร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work Life Balance) การจัดอบรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี และ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
  • สร้างความสะดวกให้กับ Gig economy (กลุ่มคนที่ทำงานอิสระ) – HR Tech มีส่วนทำให้กลุ่มฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มคนที่ทำงานอิสระมีตัวเลือกมากขึ้น ทำงานได้สะดวกขึ้น ซึ่งทางฝั่งของบริษัทเองก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะ HR Tech จะช่วยให้บริษัทเข้าถึงกลุ่มคนที่มีทักษะสูงมากขึ้น มีทักษะที่หลากหลาย หรือเข้าถึงทีมงานระดับโลกได้ เพราะความอิสระและง่ายในการคัดเลือกคน มี extra ที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนมาเป็น HR ดิจิทัล เช่น ใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์บุคคลได้เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น รวมไปถึงใช้เครื่องมือในการติดตามค่าใช้จ่ายจากการจ้างงาน เป็นต้น
  • การเพิ่มสกิลที่จำเป็นแบบ virtual – ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม หรืออัพสกิลที่สำคัญๆ ให้กับพนักงาน HR Tech สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า virtual หรือ ภาพเสมือนจริง ซึ่งสามารถเพิ่มความเข้าใจ และสร้างประสบการณ์ที่ดีในระหว่างกิจกรรมขององค์กรได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของ HR ซึ่งไม่ว่าจะเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีไหนก็ตาม ล้วนมีประโยชน์และให้คุณค่ากับองค์กรทั้งสิ้น เพียงแต่จุดเริ่มต้นแรกที่จำเป็นต้องปรับกันก่อนก็คือ ความเข้าใจว่า HR Tech มีความสำคัญ และจำเป็นต้องปรับก่อนจะถูกดิจิทัล disrupt ไปจนหมด ขณะที่องค์กรควรปรับทิศทางการทำงานโฟกัสไปที่ work-life balance และต้องฉลาดใช้เทคโนโลยีที่ช่วยเราได้ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : https://www.marketingoops.com

 142
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกจ้างที่ออกจากงานแล้วว่างงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มีการกระทำความผิดใดๆ
การเลือกใช้โปรแกรม HR อย่างโปรแกรมเงินเดือน Payroll ที่มีฟังก์ชั่นรองรับทุกปัญหาของงาน HR จึงเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้องค์กรและตัว HR เอง หลุดพันจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งการสรรหาพนักงานเข้าองค์กร รวมถึงการคำนวณของพนักงาน
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จัดสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน ทั้ง ม.33 ม.39 และ ม.40 ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพและลดภาระเรื่องบ้าน โดยความร่วมมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์
ประกันสังคม ระบุ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่ ?
กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังพิจารณาการกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่
โปรแกรม HR ในปัจจุบันมี Solution มากมายให้เลือกใช้ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายแตกต่างออกกันไป แล้วจะเลือกโปรแกรม HR อย่างไร ต้องคำนึงถึงฟีเจอร์อะไรเป็นพิเศษบ้าง ถึงจะเหมาะสมกับองค์กรและทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์