การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร

การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร


คนทำงานที่ออกจากงานแล้ว จะเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรกับสิทธิประกันสังคมที่ตนเองมี ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อหรือไม่ แล้วเราจะได้ใช้สิทธิอะไรบ้างเมื่อลาออกจากงาน ต้องยอมรับว่าคนทำงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบประกันสังคม เพราะอยู่ในสถานะลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ๆ แต่มีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจอย่างจริงจังว่า เราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างจากประกันสังคม เมื่อเราลาออกจากงานแล้ว

          คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

          ผู้ประกันตนต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อรักษาสิทธิของการเป็นผู้ประกันตนให้คงอยู่ และทำให้เราสามารถใช้สิทธิในการรักษาอยู่ต่อไป แม้ว่าเราจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ก็ตาม ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงไม่ต้องกังวลใจว่าจะต้องทิ้งสิทธิประกันสังคมของตนเองไป เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนให้เรียบร้อย แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงานอยู่ในบริษัทใดแล้วก็ตาม เราก็จะยังคงรักษาสิทธิที่เรามีไว้ได้ โดยอยู่ในฐานะของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) แทน

ประกันสังคมมาตรา 39 มีขั้นตอนการสมัครอย่างไร

          คนทำงานที่เพิ่งลาออกจากงาน และต้องการสมัครใช้สิทธิประกันสังคมต่อ ให้ผู้ประกันตนสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  • คุณสมบัติ – ผู้สมัครต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน โดยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
  • หลักฐานการสมัคร
    • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
    • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
  • ยื่นใบสมัคร – ผู้ประกันตนต้องยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง โดยสามารถยื่นใบสมัครได้ที่
    • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง (กทม) และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
    • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (ภูมิภาค)

เงื่อนไขการส่งเงินสมทบกองทุน

          ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนต่อสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองต่อเนื่องจาการประกันตนในมาตรา 33 โดยจะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

          ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่สำนักงานประกันสังคมต้องรู้ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ควรแจ้งการเปลี่ยงแปลงล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน พร้อมแนบสำเนาหลักฐานด้วย

          ส่วนในกรณีที่ผู้ประกันตนต้องการลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นลายลักษณ์อักษรทันที แต่ถ้าได้ทำงานในสถานประกอบการใหม่ ให้นายจ้างใหม่แจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 แต่อย่างใด



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณที่มา : https://th.jobsdb.com/

 435
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรู้ทัศนคติของผู้สมัครงานนั้นทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากสุดมักเกิดขึ้นในห้องสัมภาษณ์พนักงานใหม่ หาก HR เลือกคำถามที่ถูกต้อง จะสามารถวัดทัศนคติของว่าที่พนักงานคนนั้นได้ทันที ที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องใช้คำถามยาก ๆ แต่อย่างใด เพราะการถามคำถามง่าย ๆ ว่า ทำไมถึงลาออกจากที่ทำงานเก่า ? หรือ ทำไมถึงอยากออกจากที่ทำงานเก่า ? ก็ช่วยคัดกรองทัศนคติเบื้องต้นได้ดีแล้ว ทำไมคำถามสั้น ๆ ง่าย ๆ แบบนี้ ถึงเป็นกับดักชั้นดีที่ HR ชอบใช้ มีเหตุผลดังต่อไปนี้
เงินออมชราภาพที่ได้รับนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ "เงินบำเหน็จ" ที่จ่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว กับ "เงินบำนาญ" ที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยเราไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ แต่จะขึ้นอยู่ระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ
เงินได้ที่มีการเสียภาษีสุดท้าย (Final Tax) คือ เงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้
ประเด็นหลักที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ให้ดูที่ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และข้อเท็จจริงนั้นเข้าข่ายทุจริตเป็นความผิดร้ายแรงจริงหรือไม่
"ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์ซึ่งปัจจุบันมาทำงานไม่ได้กว่า 30 วันแล้ว บริษัทจะสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ เพราะบริษัทเองก็ไม่สามารถ แบกรับค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน?"
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์