HRD แผนพัฒนา “คน” แบบ WinWin Situation เพื่อการเติบโตของทั้งคน ทั้งบริษัท

HRD แผนพัฒนา “คน” แบบ WinWin Situation เพื่อการเติบโตของทั้งคน ทั้งบริษัท


“คน คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร” เป็นประโยคคลาสสิคที่มักได้ยิ่งผู้บริหารมือทองพูดอยู่เสมอ เพราะโลกธุรกิจทุกวันนี้ไม่ได้แข่งขันกันที่ความสามารถในการผลิต หรือศักยภาพในการทำการตลาด หรือสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ยังแข่งขันกันด้วย “คน” อีกด้วย นั่นเป็นเพราะว่าทุกกิจกรรมของบริษัทย่อมมีคนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งนั้น ทำให้ ทรัพยากรบุคคลจัดได้ว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญที่องค์กรจะมองข้ามไปไม่ได้

หากย้อนไปดูในองค์กรใหญ่ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จจะพบว่า นอกจากการมี Know How ที่ยอดเยี่ยมในเรื่องธุรกิจ และวิสัยทัศน์ในการวางแผน วางเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ภายใต้แผนการดำเนินงานระดับเทพ องค์กรเหล่านั้นมักให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” ไม่แพ้กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ นอกจากที่บริษัทเหล่านี้จะมีแผนก HR ที่เน้นไปที่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือ Human Resources Management (HRM) แล้ว องค์กรชั้นนำหลายแห่งยังพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคลหรือที่เรียกว่า HRD

HRD คืออะไร ?

HRD ย่อมาจาก Human Resources Development แปลเป็นไทยได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ กรอบความคิดและกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพเชี่ยวชาญในเนื้องานที่กำลังทำอยู่ รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับพนักงานในองค์กรเพื่อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น สร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับบริษัท ซึ่งวิธีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานก็สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การฝึกอบรม In-House Training  หรือการส่งพนักงานออกไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ การเรียนการสอนงานที่จริงจัง ดูงานภายในนอกองค์กรเพื่อหาประสบการณ์และมุมมองใหม่ ๆ การจัด Workshop พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานซึ่งกันและกันระหว่างพนักงานด้วยกันเอง หรือผู้บริหารกับพนักงาน

นอกจากการให้คุณค่ากับแผน HRD จะช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานแล้ว การทำ HRD ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลพนักงานในองค์กร ประเมินประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งชี้ให้เห็นปัญหา ทำให้สามารถอุดรอยรั่วและแก้ไขข้อบกพร่องในขั้นตอนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ได้ และยังใช้คาดการณ์ศักยภาพขององค์กร ซึ่งสิ่งนี้จะสามารถต่อยอดนำมาใช้กำหนดทิศทาง วางแผนงานและวางแผนธุรกิจให้กับองค์กรได้อีกทางหนึ่งด้วย

ผลลัพธ์จาก “คน” เก่ง

Starbuck เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นที่หนึ่ง เพราะ Starbuck มีคติที่ว่า “เราไม่ได้ขายกาแฟ แต่เราขาย “คน” ที่มาเสิร์ฟกาแฟต่างหาก” ทำให้ Starbuck เป็นองค์กรที่เน้นให้คุณค่ากับพนักงาน โดยเรียกพนักงานของตัวเองว่า “Partner” แสดงให้เห็นว่า Starbuck มีวัฒนธรรมองค์กรที่มองเห็นความสำคัญคนเป็นหลัก ทั้งหลักการบริหารที่แบบกระจายอำนาจ สร้างความเป็นผู้ประกอบการให้กับพนักงานทุกคน พนักงานจะได้รู้สึกเหมือนเจ้าของกิจการ ทำให้พร้อมส่งมอบคุณภาพและบริการที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า ซึ่ง Starbuck เรียนสิ่งนี้ว่า “คุณค่าขององค์กร” พร้อมปลูกฝังแนวคิดที่ว่า “ไม่ว่าเราจะทำงานอะไรก็ตาม เราจะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ครั้งที่เราตั้งใจทำงานของเราอย่างมีคุณค่า แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เมื่อเรารู้มากขึ้น คุณค่าของเราที่มีต่อธุรกิจ ตลอดจนความมั่นใจในตัวเองก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีกับทุก ๆ คนที่เราทำงานด้วย” พร้อมยังถ่ายทอดคุณค่าต่าง ๆ ลงไปในพนักงานแต่ละคน พนักงานแต่ละคนช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และส่วนตัวแก่ลูกค้า ความเข้าใจในหลักการและการรับรู้ว่าผู้นำและพนักงานได้ช่วยกันสรรสร้างแบบแผนที่ทรงพลังในการเปลี่ยนจากสิ่งที่ดูแสนจะธรรมดาให้กลายเป็นความพิเศษสุดยอด จะเห็นได้ว่าการให้คุณค่ากับการพัฒนาทรัพยากร “คน” อย่างต่อเนื่องของ Starbuck ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จจนกลายเป็นแบรนด์กาแฟที่ครองใจคนทั่วโลก

WinWin Situation โตของทั้งคน โตทั้งองค์กร

แผนการพัฒนาบุคลากรยังจัดเป็นอีกหนึ่ง Benefit หรือสิทธิประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากการมาทำงานให้กับองค์กรนั้น ๆ ซึ่งจะสามารถดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้ เพราะนอกจากผลตอบแทนที่ดี คนเก่งมีความสามารถยังมองหาที่ทำงานที่จะทำให้พวกเขาได้แสดงฝีมือและเรียนรู้พร้อมพัฒนาความสามารถให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กรด้วย ซึ่งแผน HRD จะเข้ามาตอบโจทย์ข้อนี้ได้เป็นอย่างดี จนเกิดเป็น WinWin Situation ได้ประโยชน์กันทั้งตัวพนักงานและองค์กร

นอกจากที่บริษัทจะต้องมองหาคนที่เก่งอยู่แล้วให้เข้ามาร่วมงานด้วยแล้ว การวางแผน HRD ยังช่วยส่งเสริมให้คนที่เก่งอยู่แล้วเก่งยิ่งขึ้นไปอีก ส่วนพนักงานที่มีความสามารถพอประมาณก็จะได้รับโอกาสให้ได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้เก่งมากขึ้นกว่าเดิม เพราะนอกจากองค์กรจะต้องการคนที่มี Competency สูงแล้ว ยังต้องการคนที่พร้อมเรียนรู้และมีพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องด้วย Learning Skill หรือทักษะแห่งการเรียนรู้ยังคงเป็นอีกหนึ่ง Soft Skill อันดับแรก ๆ ที่องค์กรมักมองหาในตัวพนักงาน ทักษะนี้สามารถการันตีได้เบื้องต้นว่าพนักงานคนนี้พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง ทำให้สามารถสร้างประสบการณ์ได้อย่างมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น จัดเป็นพนักงานระดับหัวกะทิ และองค์กรไหนที่มีพนักงานระดับหัวกะทิ หรือ กลุ่มที่เรียกได้ว่าเป็น Talented อยู่จำนวนมาก ย่อมเสริมให้บริษัทมี  Workforces ที่แข็งแรง พร้อมแข่งขันในโลกธุรกิจที่ดุเดือดและหมุนเร็วเหมือนเช่นทุกวันนี้

หากมองให้ดีจะเห็นว่า องค์กรจะก้าวไปได้ไกลและมีประสิทธิภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าบุคลากรมีศักยภาพแค่ไหน เพราะ “คน” เป็นทั้งคนลงมือทำงานและวางแผนกำหนดทิศทางธุรกิจไปพร้อมกัน ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะต้องใส่ใจ นอกจากแผนการพัฒนาบุคลากร หรือ HRD นี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้เพิ่มมากขึ้นได้แล้วนั้น ก็ยังจะช่วยรักษาพนักงานที่ดี ที่มีศักยภาพสูงให้ทำงานร่วมกับองค์กรได้ระยะยาวอีกด้วย และยังช่วยสร้าง Loyalty ให้กับองค์กร พร้อมร่วมพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแรงและดียิ่งขึ้นต่อไป


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : LINK

 433
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
วันนี้ Prosoft HRMI เราจึงนำบทความมาฝากให้ทุกคนมาทำความรู้จัก 5 Soft Skills ที่คนทำงานยุคใหม่ควรมี เพื่อให้คุณสามารถทำงานเป็นนายเทคโนโลยีได้โดยที่ไม่ถูกแย่งงานไป
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์