กักตัวเพื่อดูอาการ ๑๔ วันได้ค่าจ้างหรือไม่

กักตัวเพื่อดูอาการ ๑๔ วันได้ค่าจ้างหรือไม่



ประเด็นเรื่องป่วยติดโควิดได้ค่าจ้างหรือไม่

“กักตัวนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่” แบ่งเป็น 2 กรณี

 

1) หากเข้าหน้าที่รัฐสั่งกักตัว

 

ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงเพราะไกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือที่ทำงานมีผู้ติดเชื้อ โดย “แพทย์” หรือ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” ออกเอกสารให้กักตัวเพื่อสั่งเกตอาการ ปัญหาว่านายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ คำตอบคือ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง” เพราะเป็นกรณีที่ถือว่ามี “เหตุสุดวิสัย” ที่ตัวลูกจ้างเองไม่สามารถมาทำงานได้

 

และเมื่อมี “เหตุสุดวิสัย”(เพราะกักตัว)  ก็เข้าเกณฑ์ที่จะไปขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอัตราร้อยละ  ๕๐ ของค่าจ้างรายวัน แต่ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน ๙๐ วัน อย่างไรก็ตาม ในรอบ ๑๕ เดือนที่ผ่านมาท่านต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

 

2) นายจ้างสั่งกักตัว

 

กรณีนายจ้างออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัด หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ

 

นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ (ที่มา: อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1) กรณีนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงาน นายจ้างอาจลงโทษได้ แต่อาจเป็นโทษออกหนังสือเตือน

2) นายจ้างอาจแจ้ง จนท.ให้ออกหนังสือกักตัวให้ จากนั้นขอให้รับจากประกันสังคมแทน

3) ที่แชร์กักตัวนายจ้างไม่ต้องจ่าย เพราะลูกจ้างละทิ้งหน้าที่

 

ที่มีการแชร์กันทำนองว่า “นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายเงิน เพราะถือว่าขาดงาน” นั้นไม่ถูกต้อง เพราะถ้าขาดงานกันนาน ๑๔ วันก็ถูกเลิกจ้างกันหมดแน่ๆ เรื่องนายจ้างไม่จ่ายเงินนั้นถูก กรณีนี้ไม่ใช่ขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่(ตามมาตรา ๑๑๙(๕)) เพราะการละทิ้งหน้าที่ต้อง “ไม่มีเหตุอันสมควร” ด้วย แต่อันนี้มีเหตุอันสมควร นอกจากนั้นเหตุผลที่ไม่ใช่ขาดงาน เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย และเหตุสุดวิสัยเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายให้ได้รับเงินกรณีว่างงานข้างต้น

 

 

ขอบคุณที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=205489604834349&id=107303014653009

 

 300
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์