• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

 

สมมุติว่า พนักงานทำงานในปี 2564 มาครบปีแล้ว / ในปี 2565 (ในปีหน้า) พนักงานจะได้วันหยุดพักร้อนขั้นต่ำตามกฎหมาย คือ 6 วันต่อปี หรือจะมากกว่านี้ ที่ทาง HR ส่วนมากจะตัดเป็นปีๆ โดยนับต้นปี – สิ้นปี แล้วหากจะมีพนักงานที่มีแผนจะลาออกในปีหน้า (สมมุติว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์) โดยหากคิดตามอัตราส่วนแล้ว พนักงานจะได้หยุดพักร้อนเพียง 1 วัน ( วิธีคิด 6 วัน / ปี ÷ 12 เดือน ) ทั้งนี้ อาจมีพนักงานบางท่านต้องการใช้สิทธิ์จำนวน 6 วันเต็มของทั้งปี ให้หมดภายในเดือนกุมภาพันธ์  ซึ่งในหลักความเป็นจริง หรือในทางปฏิบัติแล้วนั้น ทางผู้บังคับบัญชา หรือ HR คงไม่สามารถไปห้ามให้พนักงานใช้สิทธิ์ดังกล่าวได้ แต่หากพนักงานได้ใช้หมดไปในเดือนกุมภาพันธ์แล้วนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ดังนี้

 

คำถามที่ 1.

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทาง HR สามารถไปหักเงินในส่วนที่หยุดพักร้อนเกินไปได้หรือไม่ เพราะพนักงานใช้สิทธิ์ไปล่วงหน้าทั้งปีไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง พนักงานได้ปฏิบัติงานเพียง 2 เดือน

คำตอบ คือ ทาง HR หรือผู้บังคับบัญชาไม่สามารถไปหักเงินในส่วนนี้ได้ครับ เพราะว่า การอนุมัติการลาของพนักงาน เป็นทางผู้บังคับบัญชาหรือ HR ที่ได้อนุมัติ “เป็นสิทธิ์ที่ให้ก่อน” ยกเว้น !!! หากทาง HR ไม่ได้เขียนระเบียบเพื่อรองรับในส่วนนี้ไว้ เช่น หากพนักงานลาออกก่อน ทางบริษัทฯขอไม่จ่ายเงินในส่วนที่ลาเกินสิทธิ์ (ห้ามใช้คำว่าหักนะครับ เพราะขัดกับ ม.76 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) เป็นต้น เพื่อป้องกันพนักงานนำสิทธิ์ส่วนนี้มาใช้ให้หมดก่อนสิ้นปี

 

ในบางองค์กร ทางผู้บังคับบัญชาจะกำหนดสิทธิหยุดพักร้อนให้กับพนักงาน เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว  เช่น ทำงานครบ 2 เดือน จะจัดให้พนักงานหยุดพักร้อน 1 วัน ก็สามารถทำได้ เพราะสิทธิการจัดให้พนักงานหยุดพักร้อนนั้น แท้จริงแล้ว ตามกฎหมายเป็นสิทธิของนายจ้างต้องเป็นผู้กำหนด แต่ในทางปฏิบัติ เป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่าย แต่โดยมากจะเป็นความสมัครใจของพนักงานในช่วงเวลาที่ต้องการใช้สิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 บทบัญญัติให้สิทธิลูกจ้างในการหยุดพักผ่อนประจำปีว่าลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้  สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้”

 

ขอบคุณที่มา 

#เพจ_ความรู้_HR

#หนึ่งใน_Slide_อบรม_HR_For_New_HR_กฎหมายแรงงาน_อธิบายอย่างละเอียดครับ

 5719
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์