• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี



ขออนุญาตอ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
2541 มาตรา 30 :

  • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน

โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

        (2)  ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้

        (3)  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น

               รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้

        (4)  สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้

มีองค์กรหลายแห่ง และจำนวนมาก ที่ได้จัดให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ครบตามสิทธิ์ตามกฎหมาย ทาง HR ลองกลับไปดูในองค์กรของท่านนะครับ ว่าได้จัดให้ถูกต้องแล้วหรือยัง หากยังไม่ถูกต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ

ตัวอย่างการคิดลาพักร้อนที่หลาย ๆ องค์กรจัดไม่ถูกต้อง

พนักงานเข้างาน 1 กรกฎาคม 2559 หากบริษัทฯที่คำนวณไม่ถูกนั้น จะนำสัดส่วนในปีแรกที่เข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่เริ่มงาน 1 กรกฎาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559 (คือ 6 เดือน) ก็จะคำนวณสัดส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 3 วัน (3 วันนี้คิดตาม Prorate หากองค์กรให้พักร้อนตามขั้นต่ำของกฎหมายแรงงาน คือไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปี)

หลายบริษัทจะกำหนดให้พนักงาน สามารถใช้สิทธิ์การลานั้นได้เมื่ออายุงานครบ 1 ปี เท่านั้น คือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 และจะให้พนักงานใช้สิทธิ์ได้เพียงแค่ 3 วัน (นับจาก 1 กรกฎาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559) ซึ่งการคิดวันลาพักร้อนดังกล่าวเป็นวิธีการคิดที่ผิด ไม่สอดคล้องตามกฎหมาย โดย อ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30  โดยสิทธิ์การลาพักผ่อนประจำปีของพนักงานนั้นต้องได้สิทธิ์ 6 วันต่อปี ตั้งแต่อายุการทำงานครบ 1 ปี ตั้งแต่ปีแรกแล้ว หรือที่ถูกต้อง ดูตามตารางการนับสิทธิ์ด้านล่าง

ตัวอย่าง ตารางการนับสิทธิ์

 

ขอบคุณที่มา

#เพจ_ความรู้_HR

#หนึ่งใน_Slide_อบรม_HR_For_New_HR_กฎหมายแรงงาน_อธิบายอย่างละเอียดครับ

 964
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์