• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

                ถ้าถามคนทั่วไปว่า “1 เดือนมีกี่วัน” คำตอบที่ได้มาอาจไม่เหมือนกัน เพราะจะมีคนตอบทั้ง 28 วัน 29 วัน 30 วัน และ 31 วัน เพราะเรายึดติดอยู่กับปฏิทิน แต่ !! ถ้าถาม HR แล้ว จะต้องมีคำตอบเดียวเท่านั้น คือ 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 68 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะ HR จะต้องใช้ในการคำนวณผลประโยชน์ต่างๆ ในงาน HR (แต่ !! หากเป็นการกล่าวถึงสิทธิการลาต่างๆ ให้นับเป็นรายวัน อย่าเอาไปปะปนกันให้สับสน) HR หลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HR มือใหม่ก็ตีความเรื่องนี้ผิดและนำไปใช้แบบผิดๆ มาแล้วเช่น กรณีเริ่มจ้างพนักงานใหม่ในระบบค่าจ้างรายเดือนวันที่ 12 มีนาคม หัวหน้าผมสั่งให้จ่ายค่าจ้าง จำนวน 19 วัน ถูกต้องไหม?” ท่านคิดว่าการจ้างค่าจ้างครั้งนี้ถูกต้องไหมครับ?

                แน่นอน ว่า ถ้า HR แม่นหลักการตามมาตรา 68 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานแล้ว จะตอบทันทีเลยว่า “ไม่ถูกต้อง” เพราะในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือผลประโยชน์อื่นใดของลูกจ้าง ต้องใช้ 30 วันเป็นฐานในการคิดคำนวณสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนในระบบค่าจ้างรายเดือน

แน่นอน ว่าในการคิดคำนวณค่าจ้างที่ไม่เต็มเดือนซึ่งมักจะเกิดกับกรณีการจ้างงานใหม่ด้วยการไม่คิดคำนวณจากวันทำงานที่เหลือในแต่ละเดือน แต่ใช้การคิดคำนวณจากการ “หักค่าจ้างในวันที่ยังไม่ได้ทำงาน” ออกครับ ซึ่งจะช่วยทำให้การคิดคำนวณค่าจ้างพนักงานใหม่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนวันในปฏิทิน และคิดคำนวณได้เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน

ตัวอย่างในการคำนวณวันที่จ่ายค่าจ้าง

เริ่มงานวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ไม่มีวันที่ไม่ได้ทำงาน จ่ายค่าจ้างเต็มเดือนตามฐานค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด

เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 1 วัน (1 กุมภาพันธ์) จ่ายค่าจ้าง 29 วัน

เริ่มงานวันที่ 3 มีนาคม หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 2 วัน (1 – 2 มีนาคม) จ่ายค่าจ้าง 28 วัน

เริ่มงานวันที่ 17 เมษายน หักวันไม่ได้ทำงาน 16 วัน (1 – 16 เมษายน) จ่ายค่าจ้าง 14 วัน ฯลฯ               

           จะเห็นว่า วิธีการที่ใช้จะมีจุดเริ่มต้นการคำนวณเดียวกันคือ “วันที่ 1 ของเดือน” และมีจุดสิ้นสุดเดียวกัน “เดือนละ 30 วัน” และหากพนักงานสอบถามโดยใช้จำนวนวันทำงานในเดือนนั้นๆ มาคิดคำนวณ HR จะสามารถอธิบายหลักการคิดคำนวณค่าจ้างตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้พนักงานฟังได้ก่อนเลยเป็นอันดับแรก เพื่อปรับฐานความคิดเรื่องจำนวนวันในการคิดคำนวณค่าจ้างให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ขอบคุณที่มา :: https://www.facebook.com/101191105245398/posts/120066366691205/

 34344
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์