ลาออกหลังได้โบนัสกับสิ่งที่ HR ต้องพร้อมรับมือ

ลาออกหลังได้โบนัสกับสิ่งที่ HR ต้องพร้อมรับมือ


แทบจะเรียกได้ว่า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติประจำทุกปีของเกือบจะทุกองค์กร ที่หลังจากพนักงานได้รับเงินโบนัสประจำปี จะทยอยกันยื่นจดหมาย 
ลาออกหลังได้โบนัสกับสิ่งที่ 
hr ต้องพร้อมรับมือ พนักงานบางคนเลือกที่จะลาออกทันที หลังได้รับโบนัส ก่อนที่จะได้งานใหม่ด้วยซ้ำ เพื่อต้องการมีเวลาพักก่อนเริ่มหางานใหม่ ซึ่งความจริงแล้ว พนักงานควรรอให้ได้งานใหม่ก่อนจึงควรยื่นลาออก

ซึ่งจากผลการสำรวจ Laws of Attraction ของ JobsDB พบว่า ธุรกิจไอทีเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเทิร์นโอเวอร์สูง ดังนั้นการที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนไอทีอยู่ต่อกับองค์กร ต้องพิจารณาถึงผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพ หากยังทำงานกับองค์กรนั้นต่อไป ส่วนในธุรกิจอื่น ๆ การที่องค์กรจะรั้งให้พนักงานอยู่ต่อไปได้ หลังจากได้รับเงินโบนัสประจำปี ควรมาจาก 4 ปัจจัยต่อไปนี้

ปลูกฝังความรักในองค์กร

สำหรับ Gen X และ Gen Y ความรักในองค์กรอาจมีความเข้มข้นกว่า Gen Z เนื่องจากพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่จะไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ หรือทำงานที่เดิมนาน ๆ หากดูแล้วว่าโอกาสที่จะก้าวหน้าในองค์กรที่ทำอยู่ไม่มี ก็จะลาออกในทันที องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติให้พนักงานรุ่นใหม่มีใจรักในองค์กร ทำให้เกิดความภูมิใจในองค์กร ดึงข้อดีที่องค์กรอื่นไม่มี รวมถึงเสนอโอกาสที่จะก้าวหน้า และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเวลาที่เหมาะสม หากยังทำงานกับองค์กรต่อไป

จูงใจด้วยโอกาสความก้าวหน้า

เงินโบนัสอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับความต้องการของพนักงานเสมอไปก็เป็นได้ หากไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้ไขว่คว้าแล้ว ก็เหมือนขาดเป้าหมายในการทำงาน นำไปสู่ความเบื่อหน่ายและลาออกจากงานในที่สุด การแก้ปัญหาหากพนักงานต้องการลาออก อาจทำได้โดยการเสนอตำแหน่งใหม่ให้ หรือเสนอการ Rotate ย้ายแผนก ย้ายทีม ย้ายสาขา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสก้าวหน้าในการทำงานมากขึ้น

เพิ่มความท้าทายในการทำงาน

ลองให้พนักงานได้ทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่งาน Routine เช่น เข้าร่วมทีมกับฝ่ายบุคคลเพื่อทำโปรเจกต์ฉลองวันเกิดให้กับพนักงานในองค์กร เป็นต้น หรือการสร้าง Challenge ในการทำงานให้กับบริษัท ด้วยโปรเจกต์ชิงรางวัลภายในองค์กร โดยให้พนักงานรวมกลุ่มกันส่งผลงานเช้าชิง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างความตื่นตัวในการทำงาน

อัดฉีดสวัสดิการ

สุดท้ายแล้วสิ่งที่พนักงานต้องการมากที่สุดก็ยังคงเป็นสวัสดิการที่ดี อย่างการปรับขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส ซึ่งการแก้ปัญหาหนึ่งที่องค์กรมักเลือกทำคือ การกระจายจ่ายเงินโบนัส แบ่งออกเป็น 2-3 ครั้งต่อปี หรือการเพิ่มค่า Incentive หากองค์กรได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงการเพิ่มสวัสดิการใหม่ ๆ เข้าไป อย่างค่ารักษาพยาบาล เงินล่วงเวลา

ไม่มีใครอยากเปลี่ยนงานบ่อย ๆ เพราะต้องวุ่นวายกับกระบวนการหางานใหม่ และการปรับตัวเข้ากับองค์กรใหม่ แต่ถ้าการทำงานในองค์กรเดิมไม่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องงาน และชีวิตส่วนตัว ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่พนักงานจะตบเท้ากันลาออก ฉะนั้นองค์กรควรดูแลทั้ง 4 ปัจจัยที่กล่าวมานี้ให้กับพนักงาน เพื่อรักษาพนักงานไว้กับองค์กรต่อไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : https://th.jobsdb.com/

 454
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์