5 เทรนด์ พฤติกรรม Candidate ที่ HR ต้องจับตามอง

5 เทรนด์ พฤติกรรม Candidate ที่ HR ต้องจับตามอง


ปี 2020 เป็นปีที่โลกการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของตลาดแรงงาน และโควิด-19 ที่ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานให้มีการปรับตัวมาทำงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์และยืดหยุ่นให้มีการ work from home ได้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสมัครงานของผู้สมัคร 


ทำผลสำรวจจาก Adecco  Candidate Experience Journey สำรวจพฤติกรรมการสมัครงานของพนักงานออฟฟิศจำนวน 997 คน แบ่งเป็น Gen Y จำนวน 490 คน(49.2%) Gen X จำนวน 377 คน (37.8%) Gen Z จำนวน 111 คน (11.1%) และ Baby Boomer จำนวน 19 คน (1.9%)   โดยสรุปเป็นเทรนด์พฤติกรรมการหางานของผู้สมัครได้ดังนี้

1.ผู้สมัครเน้นหางานผ่านออนไลน์ 
Gen Y สมัครผ่านเว็บไซต์หางาน / Gen X ใช้บริการเอเจนซี่

เราพบว่าผู้สมัครนิยมส่วนใหญ่สมัครงานผ่านออนไลน์เป็นหลักโดยช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “เว็บไซต์หางาน” (Job Portal) คิดเป็น 68.2% ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ผู้สมัคร Gen Y 

ส่วนช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองได้แก่ “Recruitment Agency” โดยมีผู้สมัครไว้ใจหางานผ่านช่องทางนี้กว่า 10% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพนักงาน Gen X ที่มีตำแหน่งงานระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหาร  

อันดับสาม ได้แก่ “LinkedIn” อีกหนึ่งแพลตฟอร์มหางานออนไลน์ที่ได้รับคะแนนโหวตจากผู้สมัคร 8% โดยผู้สมัครที่นิยมหางานจาก LinkedIn ส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครที่มีตำแหน่งงานระดับ specialist และมีความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะทาง 

สำหรับ Baby Boomer จากการสำรวจพบว่าพวกเขานิยมใช้วิธีการแนะนำผ่านคนรู้จักในการหางานมากที่สุด

2.ผู้สมัครใส่ใจ Job Description เงินเดือน และ “สถานที่ทำงาน” ในประกาศรับสมัครงานมากที่สุด

ในขั้นตอนการประกาศรับสมัครงาน เราพบว่าสิ่งที่ผู้สมัครสนใจต้องการทราบมากที่สุด ได้แก่ “หน้าที่และลักษณะงาน” หรือ “Job Description” มากถึง 89% รองลงมาคือ “เงินเดือน” อยู่ที่ 81% สองสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยหลักที่ผู้สมัครตัดสินใจเลือกสมัครงาน HR จึงควรให้ความสำคัญในการเขียน Job Description ให้มากยิ่งขึ้น เพื่ออธิบายลักษณะงานให้ชัดเจนและน่าดึงดูดสำหรับผู้สมัคร รวมถึงระบุช่วงเงินเดือนให้ผู้สมัครทราบเพื่อให้ผู้สมัครสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น 

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ “สถานที่ทำงาน” ที่ตามมาเป็นอันดับสาม อยู่ที่ 47% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการเดินทางและปัญหารถติดของคนกรุงเทพและปริมณฑล ทำให้ผู้สมัครนำสถานที่ทำงานมาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณาสมัครงาน สอดคล้องกับผลสำรวจ Resetting Normal ของ Adecco ที่พบว่าพนักงานกว่า 80% ต้องการให้องค์กรมีนโยบาย work from home เพื่อลดเวลาการเดินทาง เพิ่มเวลาใช้ชีวิตให้มากขึ้น ดังนั้นหากองค์กรมีที่ตั้งสำนักงานในทำเลที่สามารถเดินทางได้สะดวก หรือมีนโยบาย work from home ที่ยืดหยุ่นให้พนักงาน ก็จะสามารถช่วยดึงดูดผู้สมัครให้มาร่วมงานกับองค์กรได้มากยิ่งขึ้น 

3.ผู้สมัครเลือกงานจาก “เงินเดือน" - 89%  ใช้เงินเดือนเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจ

เมื่อถามว่าผู้สมัครพิจารณาปัจจัยอะไรในการเลือกงานบ้าง ผู้สมัคร 89% ตอบว่า “เงินเดือน” คือสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากที่สุด ซึ่งตรงกันในทุก generation  แต่ผู้สมัครก็ยังพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย จากการสำรวจเราจะพบว่า Gen Z - ซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำงานจะมองเรื่องความก้าวหน้าและโอกาสเรียนรู้งาน ขณะที่ Gen Y ซึ่งทำงานมาได้สักระยะแล้วจะเริ่มมองหาองค์กรที่มีความมั่นคง ด้าน Gen X ที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคนจะให้ความสำคัญกับสมดุลการใช้ชีวิตมากขึ้น โดยมองเรื่องความสะดวกสบายและระยะเวลาในการเดินทางเป็นปัจจัยประกอบในการพิจารณาเลือกงาน ส่วน Baby Boomer ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดจะให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงขององค์กรมากที่สุด ดังนั้นในการเขียน Job Description หรือ คอนเทนต์ต่างๆ HR อาจพิจารณานำประเด็นเหล่านี้มาหาวิธีเล่าให้น่าสนใจเพื่อสร้างจุดจูงใจให้ผู้สมัครอยากเข้ามาร่วมงานกับองค์กร

4.ผู้สมัครต้องการความรวดเร็ว  

สมัครงานไม่เกิน 15 นาที แจ้งผลภายใน 1-สัปดาห์

ผู้สมัครในยุคดิจิทัลย่อมคาดหวังความรวดเร็วและการตอบสนองที่ทันใจ โดยจากการสำรวจของ Adecco พบว่า ผู้สมัครคาดหวังให้ระยะเวลาการกรอกข้อมูลและสมัครงานที่หน้าเว็บไซต์ลดลง จากเดิมที่ใช้เวลาราว 15 - 30 นาที ต่อการสมัครงานแต่ละครั้ง โดยผู้สมัคร 29% มองว่าการสมัครงานไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที  ขณะที่อีก 23%  มองว่าไม่ควรเกิน 10 นาที และอีก 8% มองว่าไม่ควรเกิน 5 นาที  

นอกจากนี้ผู้สมัครส่วนใหญ่ราว 58% ยังคาดหวังให้มี auto-reply mail เพื่อแจ้งสถานะการสมัครแต่ละขั้นตอน รวมถึงคาดหวังให้มีการแจ้งผลการสมัครภายใน 1-2 สัปดาห์ โดย 23% ต้องการให้แจ้งผลภายใน 7 วัน และ 16% ต้องการให้แจ้งผลภายใน 15 วัน 

HR จึงควรลดการกรอกข้อมูลหรือเอกสารที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงระบบการสรรหาให้ agile ยิ้งขึ้น นำเทคโนโลยีมาช่วยลดขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้การสรรหาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

5.ผู้สมัครจะไม่ร่วมงาน ไม่สนับสนุนสินค้าและบริการขององค์กร หากมีประสบการณ์การสมัครและสัมภาษณ์งานที่ไม่ดี

เมื่อถามถึงรูปแบบการสัมภาษณ์ที่ผู้สมัครคาดหวัง ผู้สมัครชอบการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวมากที่สุด (79%) โดยต้องการให้ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องงาน (44%) โดยไม่ถามเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากจนเกินไป และแสดงออกถึงความตั้งใจฟังคำตอบ (18%) และคาดหวังให้บรรยากาศสัมภาษณ์มีความเป็นมิตร (17%)  

HR และหัวหน้างาน อาจต้องกลับมาทบทวนคำถามสัมภาษณ์ใหม่อีกครั้งว่ามีเนื้อหาที่เป็นส่วนตัวมากจนเกินไปหรือไม่ และให้ความสำคัญกับประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องงานเป็นหลัก รวมถึงเลิกใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกดดันเพื่อทดสอบความสามารถในการับมือกับความกดดันของผู้สมัคร เพราะจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับผู้สมัครและส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์องค์กร โดย 93% ระบุว่าประสบการณ์การสมัครงานและสัมภาษณ์งานที่ไม่ดี มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงาน และอีก 75% ระบุว่ามีผลต่อการตัดสินใจไม่สนับสนุนสินค้าและบริการขององค์กรในอนาคตอีกด้วย 

ทั้งนี้ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เชื่อว่า การพฤติกรรมและความต้องการของผู้สมัครอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น หลายคนอาจจะเลือกและเริ่มชำนาญในการสัมภาษณ์งานทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยจากความเสี่ยงในการติดเชื้อ  

ขณะที่เกณฑ์การพิจารณาเลือกองค์กรที่จะสมัครงานหรือร่วมงานด้วย ก็จะเริ่มให้น้ำหนักกับความมั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยนิยามของความมั่นคงอาจต่างไปจากเมื่อก่อนที่วัดจากขนาดและชื่อเสียงขององค์กรเป็นหลัก แต่ปัจจุบันอาจะเปลี่ยนเป็นโอกาสการเติบโตขององค์กรในอนาคตโดยดูจากประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรมขององค์กร รวมถึงโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพ และโอกาสการทำอาชีพที่สองเพื่อรองรับความไม่แน่นอนและสร้างความมั่นคงทางรายได้  

แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ผู้สมัครงานทุก Gen ก็ยังคงให้ความสำคัญกับความชัดเจนของข้อมูล ความรวดเร็วในขั้นตอนการสมัคร และประสบการณ์ที่ได้รับจากองค์กรตลอดขั้นตอนของการสรรหา ซึ่งผู้ที่มีส่วนในกระบวนการนี้ทุกฝ่ายจำเป็นที่จะต้องใส่ใจ ปรับปรุง และพัฒนากลยุทธ์ candidate experience journey เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : adecco.co.th/th 

 1493
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์