เตรียมตัว เตรียมใจอย่างไรกับการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส

เตรียมตัว เตรียมใจอย่างไรกับการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส



การปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัสจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะแค่เพียงกระจายเงินก้อนหนึ่งซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด (ทุกปี) ให้เหมาะสมกับผลงานพนักงานในองค์กรเท่านั้นเอง แต่พอปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัสทีไรเกือบทุกองค์มีปัญหาทุกครั้งไป ในความเป็นจริงแล้วสาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่งบการปรับค่าจ้างที่จำกัด ไม่ได้อยู่โบนัสมากหรือน้อย แต่อยู่ที่วิธีการในการประเมินผลงานมากกว่า อย่างไรก็ตาม มามองในแง่ของผู้บริหารก่อนนะคะ ว่า ผู้บริหารควรจะเตรียมตัวอย่างไร

1. เตรียมข้อมูล

ผู้บริหารควรจะให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เตรียมข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลการสำรวจค่าจ้างภายนอก ผลการดำเนินงานขององค์กร อัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม พร้อมกับเหตุผลการประกอบการตัดสินใจในการปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส ถ้าองค์กรไหนมีสหภาพแรงงานก็อย่าลืมดู ข้อตกลงกันไว้ด้วยนะคะ เดี๋ยวจะเสียเครดิตและเสียหน้า เพราะปัจจุบันองค์กรแรงงานเขาก้าวหน้าไปเร็วมาก ข้อมูลต่างๆ ก็ค้นหาทางอินเตอร์เน็ตกันแล้ว อย่าให้ข้อมูล ของฝ่ายบริษัทล้าหลังกว่าขององค์กรแรงงานก็แล้วกันนะคะ

2. เตรียมวิธีการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา

เมื่อข้อมูลพร้อมแล้วก็ควรจะมีการกำหนดแผนงาน ขั้นตอนการดำเนินการให้รัดกุม อะไรที่เคยเกิดขึ้นมาในปีที่ผ่านมาก็ควรจะนำมาแก้ไขปรับปรุง เช่น ข่าวลือเรื่องโบนัส ข่าวรั่วจากผู้บริหารบางท่าน ควรจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบในการดำเนินการ ใครจะเป็นคนสื่อสารกับพนักงาน ควรจะประกาศ เรื่องอัตราการปรับค่าจ้างเมื่อไหร่ จะประกาศอย่างไร เราอยากจะอยากแนะนำว่าผู้บริหารควรจะเตรียมกำหนดนโยบายไว้ล่วงหน้าได้เลยว่า ในปีต่อไปบริษัทจะรับมือ กับปัญหานี้อย่างไร เช่น บางบริษัทก็บอกว่าปีต่อไปปัญหานี้จะน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีก เพราะบริษัทเราเตรียมที่จะนำเอาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบใหม่ เข้ามาใช้ที่จะสามารถวัดผลงานได้ชัดเจนและเป็นธรรม ซึ่งจุดนี้จะช่วยลดกระแสความไม่พึงพอใจของพนักงานลงได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็พอมีความหวังสำหรับในปีต่อไปได้บ้าง

3. เตรียมเก็บรวบรวมข้อมูลผลงาน

ทั้งชิ้นโบแดงและโบดำของตัวเองของตัวเองว่าในรอบปีที่ผ่านมานั้นได้ทำงาน อะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้อภิปรายกับหัวหน้าเราได้ตอนที่ถูกเรียกเข้าไป ประเมินผลงาน ถ้าจะให้ดีควรจะเตรียมตัวเชิงรุกคือ อย่ารอให้หัวหน้าเรียกเข้าไปคุย เพราะถ้าถึงเวลานั้นอาจจะเปลี่ยนใจหัวหน้ายาก เพราะหัวหน้ามีลำดับไว้เรียบร้อยแล้ว เราอาจจะลองทำสรุปผลงานประจำปีให้หัวหน้าดูก่อน แต่อย่าเขียนเฉพาะผลงานที่ดีนะคะ ให้ทำทีเป็นเขียนสรุปผลงานเทียบกับแผน เพราะเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจหัวหน้าว่า สิ้นปีนี้เวลาปรับค่าจ้างและจ่ายโบนัส กรุณาดูข้อมูลและข้อเท็จจริงก่อน จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

4. เตรียมเสนอโครงการแนวคิดใหม่ๆ

ถ้าผลงานในรอบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยเข้าตากรรมการ ลองเตรียมหาแนวคิด ไอเดียใหม่ๆ และดีๆ นำเสนอหัวหน้าในช่วงก่อนการประเมินผลงาน เพราะถ้า ไอเดียถูกใจหัวหน้า เวลาจรดปากกาลงในใบประเมินผลก็อาจจะชำเลืองไปดูโครงการที่เรานำเสมอสำหรับปี หน้าแล้ว อาจจะพอช่วยได้บ้าง เพราะโครงการใหม่คือ อนาคตของหัวหน้าเหมือนกัน

5. เตรียมใจ

เป็นการเตรียมตัวครั้งสุดท้ายก่อนจะถูกตัดสิน ช่วงนี้ก็อาจลองไปสมัครงานที่อื่นไว้บ้าง เพื่อถ่วงดุลกับความเสียใจที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะบางครั้งพอไป สัมภาษณ์เขาอาจไม่รับเรา ก็จะทำให้เราเกิดความทุกข์หนักกว่าเงินเดือนขึ้นน้อยหรือได้โบนัสน้อย ในเมื่อเราไม่สามารถกำหนดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ซึ่งแนวทางหนึ่งที่คนที่เป็นลูกจ้างควรจะทำก็คือ เตรียมตัววางแผนพัฒนาตัวเองในปีต่อไป อย่ามัวแต่เสียใจกับผลที่เราไม่ได้กำหนด วันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราเก่งจริง ไม่ต้องรอถึงการปรับเงินเดือนและโบนัสตอนสิ้นปีหรอกคะ เราจะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ก็ได้ (ถ้าคุณเก่งจริง)

ท้ายที่สุด ก่อนถึงสิ้นปีนี้แต่ละฝ่ายคงจะต้องเตรียมตัว เตรียมใจรับสถานการณ์การปรับค่าจ้างประจำปีและการจ่ายโบนัส องค์กรไหนกำไรเยอะและแบ่ง ให้พนักงานเยอะ ก็เตรียมสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนในองค์กรสื่อสารทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น องค์กรใดที่มีความโปร่งใส พนักงานเข้าใจ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร



บทความโดย : www.hrcenter.co.th
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3628
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
วันนี้ Prosoft HRMI เราจึงนำบทความมาฝากให้ทุกคนมาทำความรู้จัก 5 Soft Skills ที่คนทำงานยุคใหม่ควรมี เพื่อให้คุณสามารถทำงานเป็นนายเทคโนโลยีได้โดยที่ไม่ถูกแย่งงานไป
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์