12 ทักษะที่คนทำงานต้องมีในปี 2025

12 ทักษะที่คนทำงานต้องมีในปี 2025

ทักษะที่คนทำงานในยุคปัจจุบันควรมี สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ทักษะทางเทคนิค (Hard Skills) และ ทักษะทางสังคมและการปรับตัว (Soft Skills) แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้


ทักษะการเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

มีความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ นำเครื่องมือ และอุปกรณ์ดิจิทัลมาใช้ประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารหรือปฏิบัติงาน โดยทักษะการเรียนรู้ที่จะตามเทคโนโลยีให้ทันจะกลายเป็นไฟต์บังคับที่พนักงานทุกคนไม่รู้ไม่ได้ หากไม่ติดตามก็จะถูกมองว่าเป็นคนตกยุค ไม่ทันคนอื่น

ทักษะการใช้งาน Generative AI

ตัวช่วยผลิตคอนเทนต์ ทั้ง การเขียนบทความ, สรุปความ, คิดประเด็น, สร้างไอเดีย โดยเครื่องมือที่รู้จักกันดี เช่น ChatGPT ที่เป็นตัวช่วยให้คนไม่มีทักษะอย่างที่กล่าวมา ช่วยเนรมิตผลงานออกมาภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยให้การทำงานง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งวงการธุรกิจเริ่มให้ความสนใจลงทุนกับเครื่องมือ Generative AI กันมากขึ้น

ทักษะการเข้าใจ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Data Literacy)

ข้อมูลในโลกธุรกิจเรียกได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า ยิ่งไปกว่านั้นคนที่หาข้อมูลเก่ง และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายจะทำให้การทำงานมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น สามารถผันตัวไปทำงานสายอื่น ๆ ได้ โดยการเสริมทักษะการอ่าน และการวิเคราะห์ข้อมูลจะทำให้มองเห็นโอกาสธุรกิจ และได้เปรียบมากกว่าคนอื่นที่รู้แต่เรื่องงานตัวเองเพียงอย่างเดียว

ทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

การมีทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีนอกจากช่วยลดความเสี่ยงการถูกโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงเวลาการทำงานแล้ว ยังเป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอีกด้วย เพราะหากมีความเข้าพื้นฐาน รู้กลลวงที่มักใช้กัน ก็จะทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ

ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การทำงานไม่มีทางที่ทำคนเดียวแล้วสำเร็จ เพราะการทำงานมีขั้นตอน ต้องอาศัยความร่วมมือของฝ่ายงานต่าง ๆ ดังนั้น คุณต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี, มีการเชื่อมประสาน ส่งไม้ต่อให้คนที่ร่วมทำงานด้วยทำงานต่อได้อย่างราบรื่น เข้าใจงาน อธิบายให้คนอื่นได้เข้าใจ

ทักษะการเป็นผู้นำ

แม้ไม่ได้เป็นหัวหน้าทีม แต่การเป็นผู้นำสามารถเริ่มได้ โดยหัวใจการเป็นผู้นำคือรู้จักบทบาทหน้าที่การทำงานสมาชิกแต่ละคนในทีม และจัดสรรให้ทุกคนได้ทำงานอย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพจนทำให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ เมื่อทุกคนได้ทำงานของตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่มีสะดุด งานก็ย่อมออกมาดี

ทักษะการบริหารจัดการ

การบริหารจัดการงานต้องอาศัยทักษะมากกว่าหนึ่งทักษะ เพราะต้องเผชิญกับความกดดันเรื่องเวลา, การประสานงานกับคน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากับเหตุการณ์ไม่คาดคิด หากเจอไม่ควรหนี แต่ให้ลองฝึกตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากได้เลื่อนตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

ทักษะการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ

การเป็นคนที่มีทักษะการวิเคราะห์จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะเราได้นำข้อมูลที่เราหามาเอง และที่ได้จากคนอื่นมาวิเคราะห์รอบด้าน และตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลเหล่านั้น โดยคนเก่ง ๆ จะรู้ถึงวิธีการเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ความฉลาดทางอารมณ์

ทักษะนี้มีความสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคมการทำงาน คนทำงานยุคใหม่ควรฝึกทักษะการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมเคารพซึ่งกันและกัน เอาใจเข้ามาใส่ใจเรา มีความประนีประนอมระหว่างกัน อย่าสร้างบรรยากาศการทำงานที่ไม่ดี

ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

โลกธุรกิจวันนี้ต่างพูดถึงนวัตกรรม หรือไอเดียใหม่ ๆ ที่สร้างความแตกต่างในตลาด โดยการจะได้ไอเดียธุรกิจที่ไม่ซ้ำใครก็จำเป็นต้องมีทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานอยู่สายงานไหนก็สามารถมีทักษะนี้ได้

ทักษะการปรับตัว

การทำงานต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องรูปแบบการทำงาน หัวหน้าที่เปลี่ยนไป โครงสร้างองค์กรที่ไม่เหมือนเดิม ตลอดจนงานใหม่ ๆ ที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม ยิ่งโลกของธุรกิจมีปัจจัยมากมายที่กระทบต่อการทำงาน เราจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ

ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หาโอกาสเรียนรู้อยู่เสมอ เช่น การอ่านหนังสือ, การฟัง Podcast, การแลกเปลี่ยนไอเดียกับเพื่อร่วมงาน, การเข้าวร่วมงานสัมมนา, การเรียนคอร์สออนไลน์ คนเหล่านี้จะใช้โอกาสในการเรียนรู้ และเพิ่มศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ

 840
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (HRP)  เป็นกระบวนการที่ใช้ใน งานบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมี จำนวนพนักงานที่เหมาะสม มี ทักษะที่จำเป็น และอยู่ใน ตำแหน่งที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์