• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ


หนึ่งในหลาย ๆ สวัสดิการที่พนักงานบริษัท
 ควรได้รับ นอกเหนือไปจาก ค่าเบี้ยขยัน ค่าทำงานนอกเวลา ค่าทำงานนอกสถานที่ ค่าเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด ค่าโทรศัพท์ ค่าคอมพิวเตอร์ ยังควรที่จะรวมไปถึงเงิน กองทุนฌาปนกิจ พนักงานและครอบครัว เงินช่วยเหลือเมื่อพนักงานหรือครอบครัวเสียชีวิต ที่จะช่วยเป็นแรงจูงใจในการสมัครเข้าทำงานในองค์กรนั่นเอง

กองทุนฌาปนกิจ คือ กองทุนช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวกรณีเสียชีวิต ต้องบอกว่าแต่ละองค์กร จะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ รวมไปถึงจำนวนเงินช่วยเหลือ และรูปแบบของกองทุนที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งขนาดขององค์กร รูปแบบของธุรกิจ รูปแบบของงาน หากเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงตามไปด้วย โดยหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่จะมีรูปแบบของ กองทุนฌาปนกิจ ในรูปแบบกองทุน หรือรูปแบบสหกรณ์ ขณะที่องค์กรขนาดเล็กอาจจะเป็นในรูปแบบของเงินสนับสนุน ช่วยเหลือครอบครัว

เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของพนักงาน

โดยทั่วไปแล้ว เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของพนักงาน แต่ละบริษัทจะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือและจำนวนเงินที่แตกต่างกันออกไป แต่เบื้องต้น ประกอบไปด้วย

  • พวงหรีดเคารพศพ และค่าจัดการศพเบื้องต้น
  • การรับเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ
  • เงินช่วยเหลือ ขึ้นอยู่กับการเสียชีวิตมาจากสาเหตุใด หากเป็นอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บส่วนตัว ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือแตกต่างจากการเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือ เสียชีวิตจากการทำงาน พนักงานควรตรวจสอบเงื่อนไขก่อนสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเงินช่วยเหลือนี้จะถูกส่งต่อให้กับผู้รับผลประโยชน์ เช่น สามี ภรรยา บุตร หรือบิดามารดา นั่นเอง

เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว

โดยที่บุคคลในครอบครัว จะหมายถึง บุตรที่ให้กำเนิดตามกฎหมาย ไม่นับรวมบุตรบุญธรรม คู่สมรสตามกฎหมาย และบิดามารดา ลักษณะของการช่วยเหลือที่จะได้รับ

  • ค่าจัดการศพเบื้องต้น
  • เงินช่วยเหลือ
  • การรับเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ เป็นต้น

จะเห็นว่ากองทุนฌาปนกิจ เป็นสิ่งที่บริษัทควรให้ความสำคัญและรวมไว้เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน จะทำเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ได้ โดยการหักจากเงินเดือนพนักงานส่วนหนึ่ง และบริษัทสมทบส่วนหนึ่ง และจ่ายคืนเต็มจำนวนพร้อมเงินสมทบ เมื่อพนักงานลาออกหรือเสียชีวิต ทุกวันนี้โรคระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้สมัครงานมองหางานที่ให้สวัสดิการครอบคลุม และตอบโจทย์ชีวิตมากที่สุด 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 189
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชื่อว่าหนึ่งในความฝันหรือเป้าหมายของคนทำงานประจำหรือคนทำงานออฟฟิศ คือการ เปิดบริษัท ของตัวเอง ยิ่งได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความรู้มาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ย่อมอยากนำไปใช้กับสิ่งที่เป็นของตัวเอง ลงทุนลงแรงเอง แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเปิดบริษัท มีหลายเรื่องให้ต้องพิจารณาเลย 10 ข้อน่ารู้ก่อนตัดสินใจเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง มีอะไรบ้าง ไปหาคำตอบกัน
“ลาออก” เป็นหนึ่งสิ่งที่เชื่อได้ว่าต้องเคยเกิดขึ้นในชีวิตของคนแทบทุกคน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าอยากเปลี่ยนงาน หรือจะเกษียณก็ตาม นอกจากการวางแผนหางานใหม่ การทำเรื่องลาออกกับบริษัท จัดการเอกสารต่าง ๆ การวางแผนการเงินก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายคนให้ความสำคัญ แต่อาจจะมีเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่หลายคนมองข้ามในช่วงลาออก นั่นก็คือการจัดการเงินที่อยู่ใน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
นับว่าเป็นบทลงโทษที่ยอดฮิตที่นายจ้างมักจะลงโทษลูกจ้างนอกเหนือไปจากการเลิกจ้าง คือ การหักเงินค่าจ้าง และ การพักงาน โดยจะขอทำการกล่าวถึง “การพักงาน” 
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ กำหนดมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป โดยนับเป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวัน
แน่นอนว่างานบางอย่างอาจสามารถทำคนเดียวได้ แต่งานนั้นอาจทำได้ดีกว่าหากร่วมกันทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีมนั้นถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับหลายคนและหลายองค์กร อาจเป็นเรื่องง่ายที่จะนำคนมาทำงานร่วมกัน แต่การทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นทีมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกมากมาย
แน่นอนว่าการพิจารณาผู้สมัครจาก Resume และการสัมภาษณ์งานอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะการประเมินเรื่อง Soft Skills ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จับต้องได้น้อยกว่าเรื่องบุคลิกภาพหรือความสามารถด้าน Hard Skills จึงทำให้ HR หลายคนอาจมีคำถามหรือเกิดความลังเลใจว่าควรเลือกผู้สมัครแบบไหนดี?
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์