• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ

กองทุนฌาปนกิจ เพื่อพนักงานและครอบครัวที่บริษัทควรใส่ใจ


หนึ่งในหลาย ๆ สวัสดิการที่พนักงานบริษัท
 ควรได้รับ นอกเหนือไปจาก ค่าเบี้ยขยัน ค่าทำงานนอกเวลา ค่าทำงานนอกสถานที่ ค่าเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด ค่าโทรศัพท์ ค่าคอมพิวเตอร์ ยังควรที่จะรวมไปถึงเงิน กองทุนฌาปนกิจ พนักงานและครอบครัว เงินช่วยเหลือเมื่อพนักงานหรือครอบครัวเสียชีวิต ที่จะช่วยเป็นแรงจูงใจในการสมัครเข้าทำงานในองค์กรนั่นเอง

กองทุนฌาปนกิจ คือ กองทุนช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวกรณีเสียชีวิต ต้องบอกว่าแต่ละองค์กร จะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ รวมไปถึงจำนวนเงินช่วยเหลือ และรูปแบบของกองทุนที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งขนาดขององค์กร รูปแบบของธุรกิจ รูปแบบของงาน หากเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงตามไปด้วย โดยหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่จะมีรูปแบบของ กองทุนฌาปนกิจ ในรูปแบบกองทุน หรือรูปแบบสหกรณ์ ขณะที่องค์กรขนาดเล็กอาจจะเป็นในรูปแบบของเงินสนับสนุน ช่วยเหลือครอบครัว

เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของพนักงาน

โดยทั่วไปแล้ว เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของพนักงาน แต่ละบริษัทจะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือและจำนวนเงินที่แตกต่างกันออกไป แต่เบื้องต้น ประกอบไปด้วย

  • พวงหรีดเคารพศพ และค่าจัดการศพเบื้องต้น
  • การรับเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ
  • เงินช่วยเหลือ ขึ้นอยู่กับการเสียชีวิตมาจากสาเหตุใด หากเป็นอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บส่วนตัว ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือแตกต่างจากการเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือ เสียชีวิตจากการทำงาน พนักงานควรตรวจสอบเงื่อนไขก่อนสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเงินช่วยเหลือนี้จะถูกส่งต่อให้กับผู้รับผลประโยชน์ เช่น สามี ภรรยา บุตร หรือบิดามารดา นั่นเอง

เงินช่วยเหลือจากการเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว

โดยที่บุคคลในครอบครัว จะหมายถึง บุตรที่ให้กำเนิดตามกฎหมาย ไม่นับรวมบุตรบุญธรรม คู่สมรสตามกฎหมาย และบิดามารดา ลักษณะของการช่วยเหลือที่จะได้รับ

  • ค่าจัดการศพเบื้องต้น
  • เงินช่วยเหลือ
  • การรับเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ เป็นต้น

จะเห็นว่ากองทุนฌาปนกิจ เป็นสิ่งที่บริษัทควรให้ความสำคัญและรวมไว้เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน จะทำเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ได้ โดยการหักจากเงินเดือนพนักงานส่วนหนึ่ง และบริษัทสมทบส่วนหนึ่ง และจ่ายคืนเต็มจำนวนพร้อมเงินสมทบ เมื่อพนักงานลาออกหรือเสียชีวิต ทุกวันนี้โรคระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้สมัครงานมองหางานที่ให้สวัสดิการครอบคลุม และตอบโจทย์ชีวิตมากที่สุด 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 457
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์