นายจ้างจะสั่งพักงานลูกจ้างได้แค่ไหน

นายจ้างจะสั่งพักงานลูกจ้างได้แค่ไหน

นับว่าเป็นบทลงโทษที่ยอดฮิตที่นายจ้างมักจะลงโทษลูกจ้างนอกเหนือไปจากการเลิกจ้าง คือ การหักเงินค่าจ้าง และ การพักงาน โดยจะขอทำการกล่าวถึง “การพักงาน” 

การพักงานมี 2 กรณี คือ การพักงานระหว่างสอบสวน กับ การลงโทษโดยการพักงาน

การพักงานในระหว่างสอบสวนความผิดลูกจ้างมีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 116 และ มาตรา 117 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

มาตรา 116

                ในกรณีที่นายจ้างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ห้ามมิให้นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างในระหว่างการสอบสวนดังกล่าว เว้นแต่จะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้อำนาจนายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้ ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานได้ไม่เกินเจ็ดวัน โดยต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงาน
               ในระหว่างการพักงานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนถูกสั่งพักงาน

มาตรา 117

                เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานนับแต่วันที่ลูกจ้างถูกสั่งพักงานเป็นต้นไป โดยให้คำนวณเงินที่นายจ้างจ่ายตามมาตรา ๑๑๖ เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามมาตรานี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี

ดังนั้นจึงสรุปออกมาเป็นประเด็นหลัก ได้ดังนี้

  • ลูกจ้างนั้นได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด (วินัยในการทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน)
  • นายจ้างประสงค์ทำการสอบสวนลูกจ้างและประสงค์พักงานลูกจ้างนั้น
  • มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่านายจ้างมีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างได้
  • นายจ้างได้มีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานซึ่งต้องไม่เกิน 7 วัน และ
  • นายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงานนั้นแล้ว
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างปกติ

บทลงโทษในการจ่ายค่าจ้าง

สำหรับบทลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานนั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ก็ต้องมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์การพักงานในระหว่างสอบสวน คือ ต้องมีข้อบังคับกำหนดโทษพักงานไว้ด้วย , ต้องกำหนดระยะเวลาการพักงาน และ ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนการลงโทษ

 
ที่มา : LINK

 9587
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชื่อว่าหนึ่งในความฝันหรือเป้าหมายของคนทำงานประจำหรือคนทำงานออฟฟิศ คือการ เปิดบริษัท ของตัวเอง ยิ่งได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความรู้มาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ย่อมอยากนำไปใช้กับสิ่งที่เป็นของตัวเอง ลงทุนลงแรงเอง แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเปิดบริษัท มีหลายเรื่องให้ต้องพิจารณาเลย 10 ข้อน่ารู้ก่อนตัดสินใจเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง มีอะไรบ้าง ไปหาคำตอบกัน
กองทุนฌาปนกิจ คือ กองทุนช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวกรณีเสียชีวิต ต้องบอกว่าแต่ละองค์กร จะมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ รวมไปถึงจำนวนเงินช่วยเหลือ และรูปแบบของกองทุนที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งขนาดขององค์กร รูปแบบของธุรกิจ รูปแบบของงาน หากเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงตามไปด้วย โดยหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่จะมีรูปแบบของ กองทุนฌาปนกิจ ในรูปแบบกองทุน หรือรูปแบบสหกรณ์ ขณะที่องค์กรขนาดเล็กอาจจะเป็นในรูปแบบของเงินสนับสนุน ช่วยเหลือครอบครัว
“ลาออก” เป็นหนึ่งสิ่งที่เชื่อได้ว่าต้องเคยเกิดขึ้นในชีวิตของคนแทบทุกคน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าอยากเปลี่ยนงาน หรือจะเกษียณก็ตาม นอกจากการวางแผนหางานใหม่ การทำเรื่องลาออกกับบริษัท จัดการเอกสารต่าง ๆ การวางแผนการเงินก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายคนให้ความสำคัญ แต่อาจจะมีเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่หลายคนมองข้ามในช่วงลาออก นั่นก็คือการจัดการเงินที่อยู่ใน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ กำหนดมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป โดยนับเป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวัน
แน่นอนว่างานบางอย่างอาจสามารถทำคนเดียวได้ แต่งานนั้นอาจทำได้ดีกว่าหากร่วมกันทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีมนั้นถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับหลายคนและหลายองค์กร อาจเป็นเรื่องง่ายที่จะนำคนมาทำงานร่วมกัน แต่การทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นทีมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกมากมาย
แน่นอนว่าการพิจารณาผู้สมัครจาก Resume และการสัมภาษณ์งานอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะการประเมินเรื่อง Soft Skills ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จับต้องได้น้อยกว่าเรื่องบุคลิกภาพหรือความสามารถด้าน Hard Skills จึงทำให้ HR หลายคนอาจมีคำถามหรือเกิดความลังเลใจว่าควรเลือกผู้สมัครแบบไหนดี?
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์