ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 1)

ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 1)



เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางบริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด หรือ BMC ได้จัดสัมมนาฟรีในเรื่อง “ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างไรดี” มีผู้สนใจสมัครเข้าฟังกันล้นหลาม แต่เนื่องจากไม่สามารถรับเพิ่มได้ ด้วยข้อจำกัดทางด้านสถานที่ ผมก็เลยขอเขียนเป็นสรุปบทความมาให้กับท่านผู้อ่านที่ไม่ได้เข้าฟัง ได้อ่านกัน เผื่อว่าจะได้ความรู้และแนวทางไปใช้ในการบริหารจัดการความแตกต่างของพนักงาน ในแต่ละ Gen ในองค์กรของเราเอง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคปัจจุบันนี้ องค์กรส่วนใหญ่มีพนักงานที่ทำงานในองค์กรครบทุก Generation ไม่ว่าจะเป็น

• Baby Boomer ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร หรือบางแห่งก็อาจจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่สร้างขึ้นมากับมือ คนกลุ่มนี้ก็น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง 50 ปีขึ้นไป โดยประมาณ

• Generation X คนกลุ่มนี้ ปัจจุบันก็น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 35 ขึ้นไปจนถึง 40 ปลายๆ ซึ่งในองค์กรก็น่าจะดำรงตำแหน่งในระดับผู้บริหารระดับสูง และระดับกลางขององค์กร ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ตรงกลางระหว่าง Baby Boomer และ Gen Y นั่นเองครับ

• Generation Y คนกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มพนักงานที่เพิ่งเข้ามาทำงานกับองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 22-34 ปี ซึ่งก็เป็นคนรุ่นใหม่ ที่กำลังทยอยเข้ามาสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นคนรุ่นที่หลายๆ องค์กรต่างก็ให้ความสำคัญในการดึงดูด และรักษาไว้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ในองค์กร

เคยเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ในองค์กรท่านบ้างหรือเปล่า

• ผู้บริหารระดับสูงนั่งบ่น และคุยกันถึงพนักงานใหม่ที่เพิ่งรับเข้ามา “เด็กสมัยนี้ไม่รู้เป็นยังไง ไม่ค่อยขยันทำงานเลย วันๆ เอาแต่เล่นโทรศัพท์ มาก็สาย กลับก็เร็ว ดูแล้วทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือนเลย”

• ผู้จัดการฝ่าย Gen X บ่นในที่ประชุมผู้จัดการ “เด็ก สมัยใหม่นี้ไม่รู้เป็นไง สั่งอะไรไป ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ ไม่เข้าใจก็ไม่ถามนะ แล้วก็ไปนั่งงงๆ ไม่พอยังไปนั่งนินทาพวกเราว่า เอาแต่สั่งๆๆๆ ไม่เห็นบอกว่าวิธีการทำงาน หรือขั้นตอนการทำงานเป็นยังไง สมัยเรายังสามารถหาทางทำงานได้ด้วยตนเองเลย เรื่องแค่นี้ ทำไมเด็กสมัยนี้มันคิดกันไม่ได้ก็ไม่รู้ แย่จริงๆ”

• กลุ่มพนักงานนั่งบ่น ระบายกันเองว่า “หัวหน้าเรานี่แย่จริงๆ ไม่ยอมบอกอะไร ได้แต่สั่ง สั่ง สั่ง ไม่เคยที่จะบอกรายละเอียดของงาน แถมยังไม่เคยบอกอะไรเลยว่างานที่ทำนั้น ดีไม่ดีอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป”

• หรือ “พวกผู้บริหารแก่ๆ นี่ไม่รู้เมื่อไหร่จะเกษียณจากบริษัทไปซักทีนะ น่าเบื่อจริงๆ อะไรๆ ก็อ้างระเบียบไปหมด แค่ทำงานดึกไปหน่อย เลยตื่นสาย มาทำงานสาย แค่นี้ก็บ่นยาว แถมยังกำหนดบทลงโทษอีกนะ ทำไมไม่ดูผลงานที่เราทำออกมาเลยล่ะ สำเร็จตามเป้าหมาย และส่งทันกำหนดเวลาทุกครั้ง เฮ้อ มันน่าเบื่อจริงๆ เลย ลาออกไปทำงานที่อื่นดีกว่า”

ผมเชื่อว่า 80% ขององค์กรในบ้านเราต้องเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นบ้างแน่นอน แล้วท่านทำอย่างไรครับ ปล่อยไว้เฉยๆ ทำใจ หรือแค่คิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะถ้าคิดแบบนี้ ผมเชื่อว่า องค์กรก็คงมีแต่ความขัดแย้งเกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มคน

แล้วเราควรทำอย่างไรดี

ถ้าองค์กรของท่านมีปัญหาเรื่องของคนทำงานที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของวัย หรือ Generation จริงๆ สิ่งที่จะต้องทำก็คือ ผู้บริหารระดับสูง และฝ่ายบุคคลจะต้องทำงานร่วมกันโดย

• ต้องหาข้อมูลว่ากลุ่มพนักงานขององค์กรนั้นประกอบไปด้วยคนในแต่ละ Gen มากน้อยสักเท่าไหร่ ในแต่ละ Gen มีจำนวนพนักงานอยู่กี่คน และอยู่ในตำแหน่งอะไร ระดับไหนบ้าง แบ่งกลุ่มออกมาให้ชัดเจน

• ศึกษาความต้องการของแต่ละ Gen ทำความเข้าใจคุณลักษณะของแต่ละ Gen ว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะเด่นอะไรบ้าง ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

• จากนั้นก็คงต้องให้กลุ่มคนในแต่รุ่นได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น

การแก้ไขปัญหาเรื่องของ Generation นั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นจุดเริ่มต้นเลยครับ

พรุ่งนี้ผมจะมาทบทวนคุณลักษณะของแต่ละ Gen ให้อ่านกันต่อนะครับ จากนั้นก็คงจะเขียนถึงระบบ HR ว่าจะต้องทำอย่างไร และระบบบริหารภายในองค์กรจะต้องบริหารกันอย่างไร เพื่อที่จะทำให้คนแต่ละ Gen สามารถอยู่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขครับ



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 6096
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์