• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • การวางแผนอัตรากำลังคน อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

การวางแผนอัตรากำลังคน อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • การวางแผนอัตรากำลังคน อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

การวางแผนอัตรากำลังคน อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

องค์กรจะดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการมีบุคลากรภายในองค์กรที่มีความสามารถ ผลักดันองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายได้สำเร็จ ดังนั้นหัวหน้างานและฝ่าย HR จึงต้องมีส่วนช่วยสรรหาพนักงานบุคลากรในองค์กร เข้ามาทำงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆ โดยเข้าไปศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังกับพนักงานในแต่ละกลุ่ม แต่ละหน่วยงาน จากนั้นจึงค่อยจัดวางกำลังคนเหล่านั้น ให้ทำงานในที่ที่เหมาะสม การวางกำลังคนให้เหมาะสมกับงาน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญ เพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด

การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) คืออะไร

การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้ และตอบสนองความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ

การวางแผนอัตรากำลังคน

การวางแผนอัตรากำลังคน ช่วยองค์กรได้อย่างไร

  1. เพื่อใช้กำลังคนให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด โดยคำนึงถึง ความรู้ ทักษะ และความสามารถตามตำแหน่งงานนั้นๆ
  2. เตรียมกำลังคนทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  3. ทำให้เข้าใจความสำคัญของแผนกำลังคนที่มีผลกรกระทบต่อแผนปฏิบัติงานขององค์การมากยิ่งขึ้น
  4. ทำให้องค์กร สามารถวางแผนสรรหาบุคลากร คัดเลือกบุคคลที่มีคุณภาพได้ล่วงหน้า
  5. สามารถวิเคราะห์และควบคุมต้นทุนของบุคลากรที่จะนำมาใช้ตามแผนได้
  6. ฝ่ายผู้บริหารสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับแผนการมอบหมายงานให้สัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลากรได้

ขั้นตอน การวางแผนอัตรากำลังคน

1. ทำความเข้าใจในเป้าหมายและทิศทางขององค์กร

เป็นอันดับแรกที่ฝ่าย HR ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจกับแผนธุรกิจขององค์กรให้เป็นอย่างดีก่อน เพื่อให้ทราบกำลังคนหลักของเราว่าเป็นงานกลุ่มไหน และความต้องการกำลังคนที่มีทักษะความรู้ ความสามารถในด้านใดบ้าง

2. การวิเคราะห์กำลังคน

เพื่อทราบความต้องการของกำลังคนภายในองค์กร ว่าองค์กรต้องการคนแบบไหน รวมถึงการประเมินความรู้ ทักษะในแต่ละระดับของกำลังคนปัจจุบันที่องค์กรมีอยู่ และการหาความต่าง (Gap Analysis) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลอัตรากำลังที่ควรจะเป็นกับอัตรากำลังคนที่มีอยู่ปัจจุบัน

3. การจัดทำแผนอัตรากำลัง (Workforce Plan)
  1. เตรียมข้อมูลกำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบันในเชิงปริมาณ (มีจำนวนเท่าไหร่ ตำแหน่งใดบ้าง) และคุณภาพ
  2. คาดการณ์กำลังคนในอนาคต ในระยะเวลาข้างหน้าที่กำหนดไว้ต้องการบุคคลากรเพิ่มเท่าไหร่ อย่างไรบ้าง ทั้งจำนวนรวม และแยกประเภท ตลอดจนระบุรายละเอียดคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ความรู้ ความชำนาญ ทักษะ และประสบการณ์ เป็นต้น
  3. แผนกำลังคน (Manpower plans) หรือแบบฟอร์มอัตรากำลัง จากการวิเคราะห์คาดการณ์ทั้งหมดแล้ว ให้นำมาระบุจำนวนที่ชัดเจนลงแบบฟอร์มเพื่อคำนวณค่าส่วนต่าง (Gap Analysis)
ขั้นตอนการวางแผนอัตรากำลังคน

โปรแกรม HR ที่ช่วยตรวจสอบรายงานอัตรากำลังคน

กำลังคน เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการทราบเกี่ยวกับอัตรากำลังคนภายในองค์กรว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่ละตำแหน่งมีกำลังคนเท่าใด มีหน่วยงานอะไรบ้างที่ยังขาดบุคลากรหรือกำลังคน เมื่อรู้สถิติเหล่านี้แล้ว จะสามารถรับสมัครบุคลากรเพิ่มเติมให้เหมาะกับตำแหน่งงานนั้นๆ และทำให้เพียงพอกับงานที่มา แต่หากจะให้มานั่งดูรายงานหรือสถิติต่างๆจากเอกสารต่างๆ ทำให้เสียเวลาค่อนข้างมาก จึงได้มีโปรแกรมที่สามารถบอกสถิติเกี่ยวกับอัตรากำลังคนภายในองค์กร นั่นก็คือ

โปรแกรม Prosoft HRMI มีระบบ Dashboard ที่สามารถระบุอัตรากำลังคนแยกตามหน่วยงานโดยจะอ้างอิงจากข้อมูลที่เรากรอกไว้ในตัวโปรแกรมได้อย่างครบถ้วนอีกทั้งจะแสดงข้อมูล เป็นกราฟให้ดูได้เข้าใจง่ายและมีสีสันสวยงามไม่ลายตาและยังได้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างครบถ้วน

ขั้นตอนการวางแผนอัตรากำลังคน

Prosoft HRMI ขอแนะนำอีกหนึ่งระบบ คือ ระบบสนับสนุนการทำงานของฝ่ายบุคคล ESS ที่มีฟีเจอร์ที่สะดวกสามารถตรวจสอบอัตรากำลังคนประจำวันของแต่ละหน่วยงาน จัดเพิ่มรายงานอัตรากำลังคนในระบบ ESS นอกจากนั้นยังสามารถระบบ ESS ยังสามารถจัดการข้อมูลส่วนตัว ผ่านเครือข่ายออนไลน์ (Web Browser) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดการงานด้าน HR นั้นเป็นเรื่องง่าย ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งาน เช่น การลงเวลาเข้า-ออกผ่านมือถือ จัดการข้อมูลส่วนตัวของพนักงานขออนุมัติลาต่างๆ การแก้ไข/ปรับปรุงเวลาการทำงาน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย หรือการตรวจสอบ Pay Slip ออนไลน์ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วทันใจ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ หากสนใจระบบสนับสนุนการทำงานของฝ่ายบุคคล ESS สามารถลงทะเบียนใช้งาน และ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.prosofthrmi.com

จัดเพิ่มรายงานอัตรากำลังคนในระบบ ESS

หากคุณสนใจโปรแกรมเงินเดือน Prosoft HRMI หรือสนใจสมัครใช้งาน Demo สามารถลงทะเบียนและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.prosofthrmi.com


ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับงาน HR ได้ที่
บทความ: www.prosofthrmi.com
 1404
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์