• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อยู่มานานอย่าลืมคำนวณให้ดีก่อนลาออก


“ลาออก” เป็นหนึ่งสิ่งที่เชื่อได้ว่าต้องเคยเกิดขึ้นในชีวิตของคนแทบทุกคน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าอยากเปลี่ยนงาน หรือจะเกษียณก็ตาม นอกจากการวางแผนหางานใหม่ การทำเรื่องลาออกกับบริษัท จัดการเอกสารต่าง ๆ การวางแผนการเงินก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายคนให้ความสำคัญ แต่อาจจะมีเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่หลายคนมองข้ามในช่วงลาออก นั่นก็คือการจัดการเงินที่อยู่ใน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund

คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครไจ เอาไว้เป็นเงินออมให้ลูกจ่ายได้ใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ ออกจากงาน หรือทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวหากลูกจ้างเสียชีวิต ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกหักออกจากเงินเดือนของลูกจ้างทุกเดือน เรียกว่า “เงินสะสม” และนายจ้างมักจะช่วยสะสมเงินอีกครึ่งหนึ่งเข้าไป เรียกว่า “เงินสมทบ”

จากนั้นก็จะนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในกองทุนหรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ให้มีผลกำไรงอกเงยต่อไป ซึ่งหากลูกจ้างตัดสินใจลาออกแล้ว เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็เป็นเงินอีกก้อนหนึ่งที่ลูกจ้างต้องวางแผนจัดการด้วย แนะนำให้อ่านและทำความเข้าใจกับเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุนที่บริษัทใช้ลงทุนก่อนเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะวางแผนจัดการกับเงินก้อนนี้อย่างไรดี

โดยที่เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งออกเป็นหลัก ๆ 2 ประเภท คือ

  1. เงินสะสมและผลประโยชน์จากเงินสะสม เป็นเงินส่วนที่ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจ่ายสะสมเข้ามาที่กองทุนทุกเดือน ซึ่งถ้าความเป็นสมาชิกกองทุนสิ้นสุดลง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินก้อนนี้รวมไปถึงดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ได้จากเงินกองนี้เต็มจำนวนไม่ว่าจะอยู่ในกรณีใด ๆ
  2. เงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ เป็นเงินส่วนที่นายจ้างช่วยจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้าง ซึ่งถ้าเกิดลูกจ้างลาออกหรือความเป็นสมาชิกกองทุนสิ้นสุดลง ลูกจ้างอาจจะได้เงินส่วนนี้คืนไม่เต็มจำนวน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบริษัทจะกำหนดคืนเงินส่วนนี้ให้กับลูกจ้างตามเงื่อนไขอายุงานที่ลูกจ้างทำงานกับบริษัท เพื่อเป็นการรักษาพนักงานให้ทำงานกับบริษัทในระยะยาว

มาดูตัวอย่างการคืนเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินกองนี้กัน

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 10%

อายุงานตั้งแต่ 1 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 20%

อายุงานตั้งแต่ 2 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 40%

อายุงานตั้งแต่ 3 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 50%

อายุงานตั้งแต่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 80%

อายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 100%

หากมีการนำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องมีการเสียภาษีจากเงินที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุน แต่ถ้าลูกจ้างมีอายุครบ 55 ปี จะถือว่า “เกษียณอายุ” หากนำเงินออกจากกองทุนหลังจากช่วงอายุนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินทั้งจำนวน

ถ้าลาออกแล้วจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี

เมื่อศึกษาเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตัวเองส่งอยู่ดีแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับเงินส่วนนี้ดี ซึ่งมีอยู่ 3 ทางเลือกให้ได้ลองพิจารณา

  1. คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม

แม้ว่าตัวคุณจะลาออกจากบริษัทแล้ว แต่คุณก็ยังสามารถเลือกที่จะเก็บเงินของคุณไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมได้ถ้าคุณยังถูกใจกับนโยบายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิม แต่คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้จำนวน 500 บาทต่อปี

  1. โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่

หากลองศึกษากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่แล้วเกิดถูกใจนโยบาย ก็สามารถเลือกที่จะย้ายเงินจำนวนนี้เข้าไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ได้เลย วิธีจะทำให้คุณไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมคงเงินรายปี และก็เริ่มสะสมเงินและได้รับผลประโยชน์งอกเงิยจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ต่อไปได้อย่างสบาย ๆ

  1. โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF for PVD

วิธีนี้เหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่ตัดสินใจลาออกจากงานแล้วมาทำธุรกิจส่วนตัว หรือเข้าทำงานที่ใหม่ที่ไม่มี Provident Fund เพราะไม่ต้องเสียภาษีตอนนำเงินออกจากกองทุน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมคงเงินรายปี เพียงแต่แค่ทำเรื่องโอนย้ายเงินเข้ากองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) หรือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ที่คุณสนใจจะลงทุนอยู่

แต่ข้อควรระวังก็คือ ไม่ใช่ทุก บลจ. ที่จะเปิดรับการโอนย้ายเงินเข้าไปได้ คุณความศึกษาเงื่อนไขและข้อบังคับของกองทุน RMF ที่คุณสนใจก่อนทำเรื่องโอนย้ายเงินเข้าไป

เป้าหมายหลักของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือให้พนักงานบริษัทหรือลูกจ้างได้มีหลักประกันชีวิต มีเงินใช้ในยามแก่เฒ่า และสนับสนุนให้คนวางแผนการเงินและออมเงินในระยะยาว ดังนั้นคุณจึงควรที่จะศึกษาเงื่อนไข ข้อบังคับและนโยบายของกองทุนให้ดี ดูผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้วางแผนการเงินได้อย่างถูกต้องและเข้ากับไลฟ์สไตล์ชีวิตของคุณเอง

เมื่อถึงเวลาที่ต้อง “ลาออกครั้งสุดท้าย” อย่างน้อย ๆ คุณก็จะได้มีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สะสมมาไปใช้จ่ายหรือลงทุนเลี้ยงชีวิตของคุณต่อไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 504
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์