Recruitment Consultant กับ Head Hunter ต่างกันอย่างไร

Recruitment Consultant กับ Head Hunter ต่างกันอย่างไร



หลายท่านอาจเคยได้รับการติดต่อเพื่อนำเสนอตำแหน่งงาน
โดยที่ไม่ได้สมัครงานไป บางคนอาจเข้าใจว่านี่คือการติดต่อมาจาก head hunter ที่ต้องการชวนคุณให้ไปร่วมงานด้วย แต่ที่จริงแล้วคนที่ติดต่อคุณไปอาจเป็น recruiter หรือ recruitment consultant จาก recruitment agency ก็ได้นะคะ เราลองมาทำความเข้าใจข้อแตกต่างระหว่าง recruitment consultant กับ head hunter กันค่ะ 

  • การเจาะจงผู้สมัคร 
    head hunter จะได้รับการระบุจากผู้ว่าจ้างอย่างเจาะจงเป็นพิเศษว่าต้องการผู้สมัครโปรไฟล์แบบใด โดยอาจระบุตำแหน่งและธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่ต้องการเป็นพิเศษ หรือในบางรายอาจระบุชื่อบุคคลและบริษัทมาด้วยเลย เช่น การระบุว่าต้องการคุณ A ผู้อำนวยการแผนกการตลาด จากบริษัท ABC แม้ว่าคุณ ในตอนนั้นอาจไม่ได้สนใจเปลี่ยนงานเลยก็ได้

    ขณะที่โจทย์ของ recruitment consultant ผู้ว่าจ้างจะไม่ได้เจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เพียงแต่ระบุคุณสมบัติทั่วไป เช่น การศึกษา ทักษะ ประสบการณ์ ตามประกาศรับสมัครงานที่เราเห็นกันทั่วไปเท่านั้น

  • ตำแหน่งงานที่สรรหา 
    เนื่องจากการทำงานของ head hunter มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษดังนั้นจึงมีความยากมากกว่าและค่าใช้จ่ายสูงกว่า ส่วนใหญ่แล้วองค์กรจะใช้บริการ head hunter เฉพาะตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือตำแหน่งสำคัญๆ ขององค์กรเท่านั้น เพื่อหาคนเก่งมาขับเคลื่อนองค์กรและช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ 

    ขณะที่การทำงานของ recruitment consultant จะค่อนข้างเปิดกว้างกว่า ตำแหน่งงานที่สรรหาค่อนข้างหลากหลายและครอบคลุมทุกสายงาน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหาร
  • การค้นหาผู้สมัคร 
    head hunter จะสร้างลิสต์รายชื่อขึ้นมาเพื่อค้นหาผู้สมัครตามโจทย์ที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยจะทำการค้นหาผู้สมัครที่อยู่ในตลาดทั้งผู้ที่สนใจและไม่สนใจเปลี่ยนงาน 

    ขณะที่การทำงานของ recruitment consultant ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลผู้สมัครที่สนใจเปลี่ยนงาน เช่น เรซู่เม่ที่ได้รับจากการลงโฆษณาประกาศรับสมัครงาน หรือ การค้นหาผ่าน LinkedIn โดยเลือกจากฐานข้อมูลผู้สมัครที่กำลังมองหางานอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้รับการติดต่อจาก consultant ของ recruitment agency ผ่านช่องทางนี้นั่นเองค่ะ 

    โดยสรุปก็คือ recruitment consultant จะจัดหาพนักงานในระดับเริ่มต้นไปตนถึงระดับสูง ในหลากหลายสายงาน และเป็นการสรรหาในลักษณะกว้างๆ โดยพิจารณาจากผู้ที่สนใจสมัครงานในขณะนั้นเป็นหลัก  ในขณะที่ head hunter จะเน้นสรรหาพนักงานในระดับสูง ในธุรกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง และจะมุ่งเน้นหา candidate ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างให้มากที่สุด ไม่ว่าผู้นั้นจะกำลังสนใจการหางานอยู่หรือไม่ 

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอาจไม่ได้มีการแบ่งการทำงานที่ตายตัวตามลักษณะที่กล่าวมา เนื่องจากบริษัทสรรหาพนักงาน หรือ Recruitment Agency หลายที่มีการผสมผสานการทำงานทั้งสองลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือองค์กรผู้ว่าจ้างเป็นหลัก

ที่มา : Link

 928
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์