กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่ HR ควรทราบ

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่ HR ควรทราบ



 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2568

 

นายจ้างเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องหักเงินค่าจ้างร้อยละ 0.25 และนายจ้างต้อง เอาเงินของนายจ้างสมทบอีกร้อยละ 0.25 เท่า ๆ กัน และนำเงินส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยมีคณะกรรมการกองทุน สงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคี เป็นผู้บริหาร กองทุน  และเมื่อครบ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2573 เป็นต้นไป อัตราการหักเงินค่าจ้างจะถูกปรับขึ้นเป็น ร้อยละ 0.50 ทั้งนายจ้างและ ลูกจ้าง

เงื่อนไขและผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีประกาศเพิ่ม ณ วันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2568

สิทธิ์เดิม





สิทธิ์ใหม่




จากข้างต้นเนื่องจาก กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มิให้ใช้บังคับแก่กิจการที่นายจ้างได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย  ตามเนื้อความมาตรา 130 กรณีบริษัทฯมีการจัดหา กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อยู่เดิมแล้วจะยังคงสามารถใช้งานได้ตามเดิม หรือหากมีการพิจารณาผลประโยชน์แล้วจะเข้าร่วมงานกองทุนใดก็ได้เช่นกัน

 

สามารถศึกษาข้อมูล กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมดังนี้

 

หมายเหตุ :

  • หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเงื่อนไขกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างสามารถติดต่อได้ที่เบอร์

02-6602062

 

ขอบคุณที่มา

https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20250227_135608.pdf

https://nakhonphanom.labour.go.th/attachments/article/3262/dlpw522568.pdf

https://www.mol.go.th/employee/employee_fund

https://protection.labour.go.th/attachments/article/476/Manual.pdf

https://www.drthawip.com/laborlaw/017



 336
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (HRP)  เป็นกระบวนการที่ใช้ใน งานบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมี จำนวนพนักงานที่เหมาะสม มี ทักษะที่จำเป็น และอยู่ใน ตำแหน่งที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การสรรหาบุคลากร (Recruitment) กล่าวง่ายๆ หมายถึง กระบวนการในการค้นหาตลอดจนคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการคัดเลือก การสื่อสารให้เกิดแรงจูงใจกับผู้สมัครเป้าหมายที่ต้องการ และจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อองค์กรนั้นรับบุคคลนั้นๆ เข้าเป็นพนักงานแล้ว
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป
การมอบสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาในงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

การเทรนนิ่งพนักงานมี 2 ทางเลือกหลัก หากองค์กรไม่เลือก On the Job Training หรือการฝึกพนักงานให้เรียนรู้จากการทำงานจริง ก็สามารถเลือก Off the Job Training ซึ่งอาจเป็นการจัดคอร์สนอกเวลาหรือจ้าง Outsource มาดูแลการฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา, Soft Skills หรือ Hard Skills

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์