เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Time คืออะไร?

เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Time คืออะไร?

เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??

           พูดถึงเรื่อง Time ในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเข้า – ออกตามกะงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการกำหนดขอบเขตการลงเวลาเข้า – ออกที่เป็นเวลาตายตัวที่องค์กรกำหนดไว้เท่านั้น

...แต่ก็มีบางองค์กรที่นำ “ระบบการลงเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น” หรือ “Flexible Time” มาปรับใช้

  • พนักงานสามารถเข้า – ออกงาน เวลาใดก็ได้ภายใต้กรอบเวลาที่องค์กรกำหนด
  • พนักงานแค่ทำงานได้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนด

ซึ่งระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจคนทำงานรุ่นใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากสามารถบริหารจัดการเวลาเข้างานของตัวเองได้อย่างอิสระ

โดยเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Time) ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ประมาณ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. จับกะงานอัตโนมัติ

ต้องบอกว่ารูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในอันดับต้น ๆ โดยองค์กรจะกำหนดเวลาเข้า – ออกกะงานเป็นช่วง ๆ ไว้ ส่วนใหญ่ก็จะกำหนดให้ 3 ช่วงเวลา ซึ่งก็จะมีเวลาเข้างานที่แตกต่างกัน เมื่อพนักงานลงเวลาเข้าใกล้เคียงกะไหน ก็จะทำงานในกะงานนั้น และทำงานจนถึงเวลาออกงานของกะงานนั้น ๆ เช่นกัน

       เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน

       08.30 – 17.30

       09.00 – 18.00

       09.30 – 18.30

       พนักงานมาทำงาน 08.53 ก็ยังไม่สาย เพราะว่าเข้ากะ 09.00 – 18.00 ได้ สบายใจ ^^ เคสนี้ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับองค์กรที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีรถติดชนิดร้ายแรง แต่ถ้ายังดันมาช้าเกิน 09.30 ก็ต้องสายแล้วน๊า

 

2. ทำงานครบตามชั่วโมง

รูปแบบการทำงานนี้ เน้นการนับชั่วโมงการทำงานเป็นหลัก พนักงานจะเข้า – ออกเวลาไหนก็ได้ แค่ทำงานให้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนดเท่านั้น ก็พอ โอ้โห!! แบบนี้วัยรุ่นชอบ ...ตื่นสายได้

 

3. ชดเชยเวลาเข้างานสาย

            ฟังดูงง ๆ จริง ๆ รูปแบบนี้ ก็คล้ายกับแบบที่ 1 นั่นแหละจ้า เพียงแต่ว่าองค์กรจะกำหนดช่วงเวลาการทำงานมาให้ พร้อมจำนวนชั่วโมงที่พนักงานจะต้องทำ ดังนั้นถ้ามาสาย ก็แค่ทำชดเชยให้ครบตามชั่วโมงที่กำหนดไว้แค่นั้น  แต่!! ต้องไม่เกินเวลาที่องค์กรอนุญาตให้ชดเชยนะ

            เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน

       08.30 – 17.30

       09.00 – 18.00

       09.30 – 18.30

โดยให้ทำงาน 8 ชั่วโมง สามารถทำงานเพื่อชดเชยสายได้ถึง 19.00 น.  เท่านั้น

            นั่นหมายความว่า ถ้าคุณมาทำงาน 10.00 – 19.00 น. แสดงว่าคุณทำงานครบ 8 ชั่วโมง และยังออกไม่เกิน 19.00 น. อีกด้วย แบบนี้ก็ไม่ถือว่าสาย  

...แต่ ถ้าคุณมาทำงาน 10.30 น. แล้วองค์กรให้ทำได้ถึง 19.00 น. เท่านั้น แบบนี้ก็ยอมสายเถอะนะ ^^

ระบบบริหารเวลา Time Attendance ในโปรแกรมบริหารงานบุคคล HRMI

Time Attendance ระบบที่ใช้สำหรับควบคุมเวลาการทำงานของพนักงาน เช่น การเข้างาน - ออกงาน การขาดลามาสาย การกำหนดกะทำงาน การกำหนดตารางการทำงานของพนักงาน และการบันทึกขาด ลา มาสาย สามารถใช้กับเครื่องรูดบัตรได้ ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ที่สามารถ Export ข้อมูลออกมาเป็น Text files ได้ รายงานแจ้งข้อผิดพลาดสำหรับพนักงานที่มีปัญหากรณีที่ไม่ได้ทำการรูดบัตร เช่น ไม่ได้รูดบัตรเข้า ไม่ได้รูดบัตรออก มาสาย เข้าช้า - กลับก่อนกำหนดได้ มีรายงานสถิติการลาแต่ละประเภทของพนักงานแต่ละคนซึ่งทำให้แผนกบุคคล สามารถตรวจสอบเวลาการทำงานของพนักงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

คุณสมบัติเด่นของ Time Attendance ระบบบริหารเวลา

  • รองรับการกำหนดกะงานได้ไม่จำกัด สามารถระบุเงื่อนไขเวลาการทำงานของแต่ละ กะงานได้ เช่น กำหนดเวลาอนุญาตสายสูงสุด, กำหนดการหักค่าจ้างกรณีที่พนักงาน เข้างานสาย
  • รองรับการกำหนดตารางการทำงานแบบกะปกติ, กะวน และกะ Flexible Time
  • รองรับการกำหนดกะงานให้มองตามเวลาใกล้เคียงเวลาแสกนนิ้ว, ตามชั่วโมงที่กำหนด (Flexible Time)
  • สามารถบันทึกกะงาน OT วันหยุด, OT ก่อนทำงาน, OT ระหว่างทำงาน, OT หลังเลิกงานได้
  • สามารถบันทึกรายได้กะงานได้ เช่น รายได้ค่ากะงานดึก เป็นต้น
  • สามารถ Import เวลาเข้า – ออก งานของพนักงานได้ โดยการใช้ Text file/Excel file หรือ จาก Database ของโปรแกรมสแกนนิ้ว ได้ทั้งการ Import เอง และ Import อัตโนมัติ
  • สามารถปรับปรุงเวลาการทำงานของพนักงานได้ เช่น บันทึกแลกกะงาน, แลกวันหยุด, เปลี่ยน กะงาน, เปลี่ยนวันหยุด, เวลาการเข้า – ออกงาน เป็นต้น
  • สามารถกำหนดตารางการทำงานให้พนักงานได้ทั้งแบบรายบุคคล หรือแบบกลุ่มได้ และสามารถ Import Format Excel เข้าระบบได้
  • สามารถกำหนดปฏิทินวันหยุด, วันหยุดประจำปี (นักขัตฤกษ์) ได้ตามนโยบายขององค์กร
  • สามารถกำหนดวันอนุญาตลาตามเงื่อนไขอายุงานได้
  • สามารถบันทึกยกเว้นการรูดบัตรได้กรณีที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่
  • สามารถตรวจสอบเวลาหลังจากประมวลผลเวลาได้ง่าย ระบบแยกสีของข้อมูลแต่ละประเภทให้ชัดเจน
  • สามารถตรวจสอบวันอนุญาตลา, วันลาที่ใช้ไป และวันลาคงเหลือของพนักงานได้
 412
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์