นายจ้างจะสั่งพักงานลูกจ้างได้แค่ไหน

นายจ้างจะสั่งพักงานลูกจ้างได้แค่ไหน

นับว่าเป็นบทลงโทษที่ยอดฮิตที่นายจ้างมักจะลงโทษลูกจ้างนอกเหนือไปจากการเลิกจ้าง คือ การหักเงินค่าจ้าง และ การพักงาน โดยจะขอทำการกล่าวถึง “การพักงาน” 

การพักงานมี 2 กรณี คือ การพักงานระหว่างสอบสวน กับ การลงโทษโดยการพักงาน

การพักงานในระหว่างสอบสวนความผิดลูกจ้างมีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 116 และ มาตรา 117 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

มาตรา 116

                ในกรณีที่นายจ้างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ห้ามมิให้นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างในระหว่างการสอบสวนดังกล่าว เว้นแต่จะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้อำนาจนายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้ ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานได้ไม่เกินเจ็ดวัน โดยต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงาน
               ในระหว่างการพักงานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนถูกสั่งพักงาน

มาตรา 117

                เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานนับแต่วันที่ลูกจ้างถูกสั่งพักงานเป็นต้นไป โดยให้คำนวณเงินที่นายจ้างจ่ายตามมาตรา ๑๑๖ เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามมาตรานี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี

ดังนั้นจึงสรุปออกมาเป็นประเด็นหลัก ได้ดังนี้

  • ลูกจ้างนั้นได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด (วินัยในการทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน)
  • นายจ้างประสงค์ทำการสอบสวนลูกจ้างและประสงค์พักงานลูกจ้างนั้น
  • มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่านายจ้างมีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างได้
  • นายจ้างได้มีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานซึ่งต้องไม่เกิน 7 วัน และ
  • นายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงานนั้นแล้ว
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างปกติ

บทลงโทษในการจ่ายค่าจ้าง

สำหรับบทลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานนั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ก็ต้องมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์การพักงานในระหว่างสอบสวน คือ ต้องมีข้อบังคับกำหนดโทษพักงานไว้ด้วย , ต้องกำหนดระยะเวลาการพักงาน และ ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนการลงโทษ

 
ที่มา : LINK

 26018
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์