เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการปรับ “Workflow”

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการปรับ “Workflow”


ถ้าหากว่าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน หรือเพิ่ม Output ให้กับธุรกิจ การปรับปรุง Workflow หรือกระบวนการต่างๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ที่เราต้องคำนึงถึง เพราะการปรับปรุง Workflow จะสามารถช่วยให้คนทำงาน สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Output ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ และวันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีในการปรับปรุง Workflow กัน

กางงานทั้งหมดออกมา:

อันดับแรกเลยคือการต้องรู้ให้หมดก่อนว่า กระบวนการในการทำงานทั้งหมดของบริษัทตอนนี้นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะสามารถตรวจเช็ค และหาจุดที่เราพอจะปรับปรุงได้ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าทำไมต้องกางออกมาด้วย ปกติก็รู้และจำขึ้นใจอยู่แล้ว

ต้องบอกสำหรับธุรกิจที่ขนาดเล็กมากๆ มีคนทำงานไม่เกินห้าคน หรือมีระบบงานที่ไม่ซับซ้อน นั้น สามารถที่จะนึกในหัว แล้วไล่ Flow ต่างๆ ออกมาได้ แต่สำหรับธุรกิจที่มีทีมงานมากกว่า 5 คน หรือมีระบบการทำงานที่ซับซ้อน (ทีมเล็กแต่ตัวงานมีความซับซ้อนก็ควรที่จะต้องทำ)

สำหรับวิธีในการ กาง” นั้น สามารถทำได้หลายแบบเลย แต่ที่แนะนำเลยคือการนำโพสต์อิท มาเขียน Task แต่อย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน จนถึงการส่งมอบ และแปะบนไวน์บอร์ด หรือกระดาน หรือกระจก

แนะนำให้ใช้โพสต์อิท เพราะว่าเราจะสามารถโยกย้าย ปรับเปลี่ยน Task ต่างๆ ได้ง่ายนะ

สำคัญตรงการเขียนนะ ควรที่จะต้องให้ทุกคน แต่ถ้าไม่สามารถนัดทุกคนได้ ก็ต้องเป็นคนที่เข้าใจ Workflow จริงๆ หรือคนที่ Execution จริงๆ มาเขียน Task ต่างๆ ของแต่ละคน แต่ละฝ่าย พาร์ทนี้อาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่อยากให้ตั้งใจทำมากๆ และอย่ามองข้าม Task เล็กๆ เป็นอันขาด

หลังจากเขียนเสร็จแล้ว เราจะได้ภาพรวมของ Workflow ทั้งบริษัทออกมาแบบละเอียดยิบ

หาจุดที่สามารถปรับปรุงได้:

ให้ทุกคน แต่ถ้าทุกคนไม่ได้ก็ให้คนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละส่วนที่เรากำลังตรวจสอบมาช่วยกันคิดและโยนไอเดีย เช่น ถ้าเรากำลังกาง Workflow ของแผนก A ก็ให้ทีม A มาช่วยกันดูว่าเราจะสามารถปรับปรุง Workflow ของ Task ไหนได้บ้าง

สิ่งที่แนะนำอย่างหนึ่ง คือ พยายามให้มีคนที่ไม่ได้อยู่ในแผนกนั้นๆ เข้ามาคิดด้วย เพราะจะทำให้เราได้มุมมองจากคนที่ไม่ได้อยู่ในแผนกนั้นๆ

  1. Task ไหนที่มีการทำซ้ำซ้อนบ้าง

    โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเรากางงานออกมาเรามักจะพบงานบางอย่างที่ซ้ำซ้อน คือ อาจจะต้องมีคนทำ 2 คน ทั้งๆ ที่อาจจะสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว หรืองานบางอย่างที่ถูกทำแล้ว แต่เมื่อส่งต่อไปยังอีกคนก็ต้องทำใน Process เดียวกันซ้ำอีกครั้ง

  2. Task ที่ไม่มีความจำเป็น หรือสามารถตัดออกได้

    อันนี้จะคล้ายกับข้อ 1 แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบของงานซ้ำซ้อน แต่เป็นงานที่ไม่มีความจำเป็น หรือเราตัดออกได้ คือ ถ้าไม่มี Task นี้ก็ไม่มีผลอะไรต่อผลลัพธ์ที่ได้ หรือต่อกระบวนการทำงานทั้งหมด

  3. หาวิธีในการใช้ Technology ในการประสิทธิภาพ

    ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งหนึ่งที่จะทำให้งานสามารถรันได้เร็วมากขึ้น Workflow ไหลลื่นขึ้น คือ เรื่องของการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับงานที่เหมาะสม เช่น ระบบบัญชี, ระบบฝึกอบรม, ระบบลาออนไลน์ การทำ Report ต่างๆ หรือ Tools ต่างๆ ที่สามารถทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น



ที่มา : missiontothemoon.co
 800
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์