7 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน

7 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน


พนักงาน
คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังม่านความสำเร็จของบริษัทมาโดยตลอด เรียกได้ว่าบริษัทไหนมีพนักงานดีก็มีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง พนักงานจึงกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญไม่ต่างจากลูกค้าของกิจการเลยก็ว่า ได้ ทุกบริษัทจึงต่างแสวงหาพนักงานที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดเพื่อดึงเข้ามาร่วมงานกับองค์กรของตนเอง แต่พนักงานแต่ละคนก็ล้วนมีที่มาที่ไป มีความรู้ ประสบการณ์ รวมไปถึงลักษณะอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกันออกไป การคัดเลือกพนักงานสักคนเข้ามาทำงานภายในบริษัทจึงต้องอาศัยมากกว่าความ ถูกอกถูกใจของผู้ประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใช้บรรทัดฐานและหลักเกณฑ์ที่ดีในการพิจารณาคัดเลือกอีกด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้มีดังนี้

  • 1. ความรู้

    อย่างแรกที่ผู้ประกอบการจะต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินรับพนักงานก็คือ “ความรู้” ซึ่งความรู้ในที่นี้จะต้องเป็นความรู้ที่พนักงานคนดังกล่าวรู้และมีความ เชี่ยวชาญในสาขานั้นจริงๆ ไม่ใช่รู้แบบน้ำเต้าปูปลาอันหรือรู้แบบฉาบฉวยและไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงาน ได้จริง ดังนั้นก่อนที่จะรับใครสักคนเข้ามาทำงานในบริษัทผู้ประกอบการจะต้องแน่ใจ เสียก่อนว่าเขามีความรู้ในเรื่องดังกล่าวจริงๆ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการตรวจวัดโดยให้ทำแบบทดสอบหรือการทดลองงานก็ได้ จึงจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการสรรหาผู้ที่มีความรู้เข้ามาทำงานกับบริษัท

  • 2. ประสบการณ์

    เป็นอีกหนึ่งหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากมักจะนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานใน การคัดเลือกพนักงาน ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมักจะมีไหวพริบและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีกว่าคนที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงาน อีกทั้งผู้ประกอบการก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาเสียเวลานั่งสอนวิธีการทำงานให้ ใหม่ทั้งหมด ดังนั้นประสบการณ์คืออีกหนึ่งคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการจะต้องมองหาในการรับ พนักงานแต่ละครั้งเข้ามาทำงาน

  • 3. เกรดเฉลี่ยหรือผลการศึกษา

    เกรดเฉลี่ยหรือผลการศึกษา คือ อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ เพราะมันเปรียบเสมือนเป็นการวัดระดับความรู้ของผู้ที่มาสมัครในเบื้องต้นว่า มีความรู้และความเหมาะสมมากเพียงไรกับการทำงานในบริษัทของคุณ ซึ่งเกรดเฉลี่ยที่เหมาะสมควรจะต้องอยู่สูงกว่า 2.5 ขึ้นไป แต่ถ้าผู้มาสมัครมีเกรดเฉลี่ยที่น้อยกว่านี้ก็ขอให้พิจารณาคุณสมบัติด้าน อื่นๆประกอบด้วย

  • 4. สถาบันการศึกษา

    สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งย่อมมีชื่อเสียงในสาขาที่แตกต่างกันออกไป เช่น มหาวิทยาลัย A โด่งดังในเรื่องของวิศวกรรม แต่มหาวิทยาลัย B โด่งดังในเรื่องการบัญชี ดังนั้นผู้ประกอบการจึงสามารถใช้สถาบันเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งในการตัดสินเพื่อ ให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงานในบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบข้อมูลจากทางสถาบันการศึกษาต้นสังกัดของพนักงาน เสียก่อน เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจว่าคุณจะไม่ถูกย้อมแมว

  • 5. ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ

    สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งย่อมมีชื่อเสียงในสาขาที่แตกต่างกันออกไป เช่น มหาวิทยาลัย A โด่งดังในเรื่องของวิศวกรรม แต่มหาวิทยาลัย B โด่งดังในเรื่องการบัญชี ดังนั้นผู้ประกอบการจึงสามารถใช้สถาบันเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งในการตัดสินเพื่อ ให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงานในบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบข้อมูลจากทางสถาบันการศึกษาต้นสังกัดของพนักงาน เสียก่อน เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจว่าคุณจะไม่ถูกย้อมแมว

  • 6. ลักษณะบุคลิกภาพ

    การจะคัดเลือกให้ใครสักคนเข้ามาร่วมงานกับทางบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาในเรื่องของบุคลิกภาพควบคู่กันไปด้วยเสมอ อย่าได้ใส่ใจกับข้อติฉินนินทาของคนอื่นเพราะคนที่พูดเรื่องเหล่านี้เขาไม่ ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งบุคลิกภาพตามที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนที่หน้าตาดีแต่ขอ ให้มีมารยาททั้งการพูดและการปฏิบัติ มีกาลเทศะ สะอาด แต่งตัวดูดี น่าเชื่อถือ เป็นพอ

  • 7. มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ

    การทำงานในบริษัทเป็นลักษณะของการทำงานในรูปแบบทีมเวิร์คที่จะต้องอาศัย การพึ่งพาติดต่อระหว่างกันภายในองค์กรอยู่ตลอด ถ้าบริษัทไหนมีพนักงานที่มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดีระบบการทำงานก็จะพังไปทั้ง ระบบ ซึ่งการตรวจสอบด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะอาศัยช่วงการทดลองงาน (ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 6 เดือน) เพราะการได้คลุกคลีกันจะทำให้เห็นลักษณะนิสัยที่แท้จริงมากขึ้น ว่าพนักงานที่เข้ามาฝึกงานใหม่นั้นสามารถปรับตัวเข้าหาพนักงานคนอื่นๆได้ดี ขนาดไหน แต่ทั้งนี้หากผู้ประกอบการใช้หลักเกณฑ์การอ้างอิงคำพูดจากพนักงานคนอื่นๆ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีเพราะอาจพบปัญหาเรื่องอคติส่วนบุคคลตาม มาในภายหลัง

  • หากผู้ที่มาสมัครงานกับทางบริษัทของผู้ประกอบการมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์ที่กล่าวไปแล้วล่ะก็ ต้องขอแสดงความยินดีไว้ ณ ที่นี้เลยว่าผู้ประกอบการได้พบเพชรแท้ในตลาดแรงงานเข้าให้แล้ว แต่ถ้ายังไม่เจออีก ทั้งบริษัทของผู้ประกอบการก็ยังไม่ได้รีบร้อนมากนักก็ขอแนะนำให้ค่อยๆเสาะหา พนักงานที่มีคุณสมบัติครบครันดังที่กล่าวไว้ไปก่อน เพราะทุกๆปีก็จะมีเด็กที่จบใหม่หรือพนักงานที่ลาออกจากบริษัทเดิมและพร้อม เข้าสู่ระบบการทำงานในตลาดแรงงานหลายแสนคน ผู้ประกอบการจึงมีโอกาสที่จะคัดเลือกคนที่ดีที่สุดให้กับบริษัทได้ โดยขอให้ยึดหลักสุภาษิตไทยที่ว่า “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม” รับรองว่าผู้ประกอบการจะได้ฟันเฟืองที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมขับเคลื่อนกลไกของ บริษัทอย่างแน่นอน

ยกระดับประสิทธิภาพการคัดสรรพนักงานด้วยการใช้ โปรแกรมบริหารงานบุคคล Prosoft HRMI
ระบบ Recruitment เป็นระบบที่ช่วยในการคัดสรรพนักงาน ให้แต่ละองค์กรสามารถหาพนักงานที่มีคุณภาพสอดคล้องกับการทำงานในแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่การสรรหาพนักงาน การสอบ การสัมภาษณ์ การประเมินผลการสอบ รวมถึงการแจ้งเตือนทาง Email เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนการทำงาน, การติดต่อสื่อสารเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว

.
 46898
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์