3 ทักษะทางจิตวิทยาที่ทำให้ HR โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมอาชีพ

3 ทักษะทางจิตวิทยาที่ทำให้ HR โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมอาชีพ



ไม่ว่ายุคสมัยไหน นักทรัพยากรมนุษย์ หรือนักทรัพยากรบุคคล (HR) ก็ยังเป็นตำแหน่งสำคัญขององค์กร เพราะพวกเขาคือตัวแทนในการดูแลพนักงานทั้งองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ไปจนถึงยุคข้างหน้า เทคโนโลยีที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบเร็วชนิดไม่ทันตั้งตัว จะยิ่งทำให้คนทำงานต้องการที่พึ่งอย่างมาก

ในฐานะที่ผู้เขียนเคยทำงานด้านนักพัฒนาองค์กร ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล อีกทั้งเรียนด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ทำให้รู้ซึ้งว่าการที่จะทำงานเกี่ยวกับคนได้ดีนั้น คนทำงานจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะด้านจิตวิทยาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ ที่การเจ็บป่วยด้านจิตใจในคนทำงานเริ่มปรากฏออกมาให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การทำงานต้องสะดุด คนคนนั้นก็ทุกข์เพราะทำให้การทำงานไม่ดีเหมือนเดิม เพื่อนร่วมงานก็ยังได้รับอิทธิพลจากความเจ็บป่วยทางจิตใจไปด้วย กลายเป็นว่าไม่ได้แย่คนเดียว แต่อาจพาให้ล้มทั้งกระดานหากไม่มีการตรวจพบและดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที

มาดูกันว่าทักษะอะไรบ้างที่จะช่วยให้ HR ทำงานด้านคนได้ดีขึ้น

1. ทักษะการเข้าใจมุมมองคนอื่น (Empathy)
แม้ HR บางคนจะทำงานด้านออกแบบระบบ อยู่กับข้อมูล แต่สุดท้ายผู้ใช้ปลายทางก็คือคนที่เป็นพนักงานในองค์กร ซึ่งต้องการการเข้าอกเข้าใจมุมมองของผู้ใช้อย่างมาก เพื่อให้สามารถออกแบบระบบหรือเครื่องมือให้สร้างประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีที่สุด HR จำเป็นต้องเข้าใจ Pain, Fears, Needs, Wants ของคนในหน่วยงานต่าง ๆ และตำแหน่งระดับต่าง ๆ

2. ทักษะการให้คำปรึกษา (Counseling)
ไม่ใช่แค่การพูดคุยเรื่องผลการทำงาน KPIs OKRs หรือเป้าหมาย แต่ HR ที่เก่งจะสามารถนั่งพูดคุยเพื่อดูแลด้านจิตใจให้กับพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือได้ บางครั้งคนเราก็อาจต้องพบเจอปัญหาชีวิตส่วนตัวกันบ้าง เช่น การหย่าร้าง การตั้งครรภ์ ปัญหาการเลี้ยงลูก การสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิต ปัญหาสุขภาพร่างกาย ปัญหาการเงินส่วนตัว การโยกย้ายหน่วยงาน ฯลฯ ซึ่งต้องมีผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์ในที่ทำงานอย่างแน่นอน

การให้คำปรึกษาต้องการการรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจในระดับลึกซึ้ง และ HR ในฐานะนักให้คำปรึกษาจะมีทักษะพร้อมกับองค์ความรู้ทางจิตวิทยา ที่จะช่วยพนักงานค้นเจอสาเหตุของความคับข้องใจ เจอปมปัญหาที่ติดอยู่ และพบเจอทางออกของปัญหาได้ เพื่อช่วยเหลือพนักงานแบบองค์รวม รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้บริหารในการดูแลทีมงานของตัวเองอีกด้วย

3. ทักษะการดูแลและประเมินปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้น
ตราบใดที่ยังต้องใช้คนทำงาน เรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจก็ยังคงมีผลต่อการทำงานเสมอ HR ควรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิต ความเจ็บป่วยทางจิตใจที่มักมีสาเหตุมาจากการทำงาน รวมถึงการประเมินปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้น เช่น ความเครียดเรื้อรัง Burnout หรือโรคซึมเศร้า เพื่อการพบเจอและช่วยเหลือคนทำงานได้แต่เนิ่น ๆ รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนส่งถึงมือผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ทักษะด้านนี้ยังช่วยให้ HR สามารถออกแบบโปรแกรมการดูแลสุขภาพจิตได้ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในองค์กรของตัวเอง รวมทั้งป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

HR ในยุคใหม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจของคนทำงาน ซึ่งเรื่องนี้สามารถพัฒนาได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีปริญญาด้านจิตวิทยาโดยตรง ในเมื่อวางแผนพัฒนาให้พนักงานคนอื่นแล้ว HR เองอย่าลืมพัฒนาศักยภาพและทักษะของตัวเองให้เข้ากับยุคสมัย และความต้องการของคนทำงานด้วยเช่นกัน

ระบบลาออนไลน์ (Employee Self-Service) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดการงานด้าน HR นั้นเป็นเรื่องง่าย จัดการข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยทำงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ (Web browser) สามารถลงเวลาผ่านมือถือได้ และสามารถตรวจสอบการลงเวลา พร้อมทั้งสามารถบันทึกคำร้องขอต่างๆ เช่น ขอทำงานล่วงเวลา ขอลาออนไลน์ พร้อมส่ง E-mail ถึงผู้มีสิทธิ์อนุมัติทันทีให้พิจารณาอนุมัติเอกสารได้ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งรูปแบบของรายงาน และรูปแบบกราฟข้อมูล


เปลี่ยนออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล ปรับการลงเวลาเข้า-ออกงาน สู่ระบบลาออนไลน์


ทดลองใช้งานระบบลาออนไลน์ (Employee Self-Service) ได้ที่ www.prosofthrmi.com
สอบถามเพิ่มเติม sale@prosofthrmi.com หรือ www.prosofthrmi.com/ContactUs

ที่มา : www.istrong.co
 1210
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์