• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง




มาทำความเข้าใจ เงินเดือนหรือรายได้สำหรับลดหย่อนภาษี นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือนที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน นั้นสามารถนำไปลดหย่อนหักลดภาษีได้อย่างไรบ้าง และสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง

อันดับแรกเราจำเป็นต้องหาเงินได้พึงประเมินในแต่ละเดือนของเราก่อนโดย เงินได้พึงประเมิน นั้นคือ  เงินเดือนหรือรายได้แต่ละเดือนที่เราได้ ก็ต้องนำมาคิดคำนวณด้วยเช่นกัน โดย เงินได้พึงประเมิน แบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังนี้

  • เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

  • เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

  • เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

  • เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

  • เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

  • เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

  • เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

  • เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

สมมติว่า นาย ออม พนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน 30,000 บาท เขาจะหักภาษีได้ ดังนี้

  • นายอดออม มีรายได้ทั้งปี 30,000 บาท x 12 เดือน = 360,000 บาท

  • เนื่องจาก “เงินเดือน” เป็นรายได้ตาม 40(1) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ดังนั้น นายอดออม ต้องนำรายได้ทั้งปีมาคูณ 50% จะได้ 360,000 x 50% = 180,000 บาท

  • ถึงแม้กฎหมายจะบอกว่า หักได้ 50% ก็จริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท หมายความว่า นายอดออม จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น

ค่าลดหย่อน ที่สามารถนำมาลดภาษีได้

เงินเดือนลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อน เรียกแบบง่ายๆคือค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่เราเสียไปแต่จะต้องเป็นค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้

  • ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ นำมาใช้หักลดภาษี หากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว

  • ค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบิดามารดา

  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบูตรหรือดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

2. ค่าลดหย่อนจากการออมหรือการลงทุน

ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ เอาไปทำการลงทุน เอาไปฝากธนาคารเพื่อออมเงินในประกันชีวิตที่มีระยะเวลา 10 ขึ้นไปหรือกองทุนต่าง ๆ ตามที่ทางกฎหมายกำหนด เช่น

  • ประกันชีวิตระยะเวลาคุ้มครองเกิน 10 ปีขึ้นไป

  • กองทุน รวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

  • กองทุน ออมเงินในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

3. ค่าลดหย่อนกรณีพิเศษจากรัฐ

ค่าลดหย่อนประเภทนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อรัฐบาลสมัยนั้น ๆ มีนโยบายพิเศษออกมา ซึ่งมีความไม่แน่นอนต้องรอข่างจากทางรัฐบาลเท่านั้น เช่น

  • ค่าลดหย่อนในการซื้อบ้านหลังแรก

  • ค่าลดหย่อนโครงการช็อปช่วยชาติ

  • ค่าลดหย่อนโครงเที่ยวเมืองรอง

4. ค่าลดหย่อนจากการบริจาค

ค่าลดหย่อนนี้ทางกฎหมายต้องการตอบแทนคนที่เสียสละ บริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยผู้ที่บริจาคเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรซึ่งอยู่ในรายชื่อที่กรมสรรพากรประกาศไว้ จะสามารถนำเงินบริจาคมาลด หย่อนภาษีได้ เช่น

  • บริจาคเงินให้วัด

  • บริจาคเงินให้โรงเรียน

  • บริจาคเงินให้โรงพยาบาล

  • บริจาคเงินให้สถานเลี้ยงเด็กเร่ร่อน หรือมูลนิธิต่างๆ

  • (โดยจะต้องมีรายชื่อตามที่ทางกรมสรรพากรประกาศไว้เท่านั้น)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่

ที่มา : www.moneyguru.co.th

 819
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หรือ การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการในการคาดการณ์ หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฏิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร ตามความต้องการของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้กำหนดไว้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Face recognition" หรือ ระบบจดจำใบหน้า อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ในระบบ HR ในการสแกนใบหน้าเพื่อลงเวลาเข้า-ออกงานที่ออฟฟิศ เพื่อบันทึกประวัติการทำงานของพนักงาน ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คำนวณเงินเดือน รวมไปถึงการประเมินต่างๆ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองฐานภาษีของภาษีนี้ รียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี ภาษี (ปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายเป็นอย่างอื่นสำหรับวิธีการเสียภาชี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภา (ปีปฏิทิน) ที่ถ่วงมาแล้ว มีหน้าที่ขึ้นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นราชปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องหักภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์