การตลาดกับการบริหารงานบุคคล

การตลาดกับการบริหารงานบุคคล



       หลายๆท่านคงจะงงล่ะซิว่าการตลาดกับการบริหารงานบุคคลจะเข้ากันได้ยังไง ดิฉันมักจะบอกใครต่อใครว่าการตลาด เป็นเรื่องง่ายและยากในเวลาเดียวกัน ทุกคนสามารถเข้าใจการตลาดได้โดยไม่ต้องใช้สูตรคำนวณให้ยุ่งยากหรือการตีความ ปรัชญาที่ซับซ้อน ขณะเดียวกันด้วยความที่การตลาดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในชีวิตประจำวัน ก็ไม่แปลกที่ท่านจะนำ การตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้ในงานบริหารบุคคล ลองตามดิฉันมาดูซิว่าใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง อาทิเช่น การตลาดกับชาติพันธุ์ ถ้าเปรียบเทียบแล้วก็ไม่แตกต่างจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) แม้กระทั่ง การบริหารประสบการณ์ของลูกค้า (CEM) ก็ยังนำมาประยุกต์ใช้กับงานบริหารบุคคลได้ โดยจากการสังเกตประสบการณ์ ของคนรอบข้างและคนใกล้ตัวเรามาขยายความกันดีกว่าค่ะ

       การตลาดกับชาติพันธุ์ (Marketing & Ethnicity) หลายๆประเทศทั่วโลกก็จะมีชนเผ่าหรือชนชาติที่แตกต่างกันไป อย่างเช่นประเทศไทยจะมี ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรืออีกหลายๆกลุ่มในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่ม เป้าหมาย

       แนวทางแรกก็คือ ความพยายามที่จะสะท้อนและส่งเสริมความโดดเด่นรวมทั้งความแตกต่างหว่างชาติพันธุ์ (Ethnicitization) อย่างเช่น หลานคุณยายอยากจะซื้อหนังสือคุณยายก็เลือกร้านขายหนังสือที่มีร้านขายกาแฟด้วยเพื่อจะให้ หลานได้เพลิดเพลินกับการเลือกหนังสือที่ตัวเองชอบ ส่วนอีกมุมหนึ่งคุณยายก็ได้เพลิดเพลินกับการนั่งจิบกาแฟทานขนมเค้ก อย่างเพลินใจ จุดมุ่งหมายเดียวกันก็คือความเพลิดเพลินแต่ต่างกิจกรรมซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความผูกพันธ์ระหว่างวัยที่ผสมผสาน กันได้โดยไม่มีช่องว่างระหว่างวัยเข้ามาข้องเกี่ยว ส่วนร้านหนังสือก็ได้กลุ่มลูกค้าหลากหลายทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น

       แนวทางที่สองก็คือ การค้นหาและพัฒนาจุดเด่นความสนใจร่วมที่ชัดเจน (De-ethnicitization) อาทิเช่น การโปรโมทขายนาฬิกายี่ห้อดัง โดยการใช้คอนเซปว่าผลิตขายทั่วโลกเพียง 100 เรือนเท่านั้น วิธีจัดจำหน่ายโดยการประมูลผ่านอินเตอร์เนตด้วยความที่เป็น สินค้าพิเศษยี่ห้อดัง แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบในสินค้าประเภทเดียวกันโดยไม่แบ่งแยกกลุ่มชาติพันธุ์ จะเห็นได้ว่า De-ethnicitization ไม่ได้พยายามที่จะสลายความแตกต่าง แต่เป็นการนำเสนอคุณค่าที่น่าสนใจสำหรับคนต่างชาติพันธุ์ ซึ่งเปรียบเสมือนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พนักงานในองค์กรก็แตกต่างความรู้ ความสามารถ และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน องค์กรพยายามที่จะจัดระเบียบ คิคหาแนวทางที่จะพัฒนาพนักงาน รวมทั้ง การส่งเสริมให้พนักงานมีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเกิด ความสมานฉันท์ภายในองค์กร อีกทั้ง องค์กรก็จะวางกลยุทธ์ในการค้นหาและพัฒนาพนักงานที่มีจุดเด่นกระตุ้นให้เห็น ความชัดเจนมากขึ้น โดยตระหนักถึงจุดยืนและความศรัทธาของพนักงานในองค์กร ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมีคุณค่าต้องมีลักษณะคือ มีความรู้ มีทักษะความชำนาญ ความสามารถ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีให้เหมาะสมกับการลงทุนที่คุ้มค่าของบริษัท การลงทุน ทรัพยากรมนุษย์คือการลงทุนระยะยาวแล้วสร้างจุดคุ้มทุนให้คุ้มค่า

       ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองของคนทำงานด้านการตลาดที่มาแชร์ให้เพื่อนๆได้มีมุมมองเพิ่มเติม ซึ่งจากนี้เราลองมาคิคดูว่า ความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ตามทฤษฏีของการตลาดจะผสมผสานกับเทคนิคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร



บทความโดย : Peoplevalue
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com

 4395
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์