เด็กจบใหม่ เขามีทัศนคติอย่างไรบ้างกับการทำงาน

เด็กจบใหม่ เขามีทัศนคติอย่างไรบ้างกับการทำงาน



ในช่วงนี้มีเด็กนิสิตนักศึกษากำลังจะจบการศึกษาออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัย ในระยะหลังๆ ฝ่ายบุคคล และผู้จัดการสายงานต่างๆ มักจะมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของเด็กรุ่นใหม่ที่มาทำงานว่าเป็นอะไร ต่างๆ มากมาย โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นข้อเสียมากกว่าข้อดี ผมก็เลยรวบรวมเอามาให้อ่านกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า สิ่งที่เอามาเขียนให้อ่านนั้น มาจากความคิดเห็นของฝ่ายบุคคลที่ได้สัมผัสกับเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งจบการศึกษาออกมา ซึ่งอาจจะจริง หรือไม่จริง ก็ต้องพิจารณากันเองอีกทีนะครับ

• ชอบขอเงินเดือนสูงๆ โดยไม่สนใจว่าจะทำงานอะไร เด็กรุ่นใหม่มักจะกำหนดเงินเดือนให้ตัวเองในอัตราที่สูง จนถึงสูงมาก ซึ่งเท่าที่ได้ข้อมูลมาก็คือ มักจะขอเงินเดือนสูงกว่าอัตราเงินเดือนตามโครงสร้างเงินเดือนของบริษัทที่มี อยู่ โดยที่ไม่เคยคิดว่าจะทำอะไรให้กับองค์กรบ้าง ก็คือ ขอเงินเดือนมากๆ ไว้ก่อน เรื่องงานเอาไว้ทีหลัง เด็กบางคนเวลาสัมภาษณ์ ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ ให้วิเคราะห์อะไรมากๆ เข้า ก็เริ่มทำสีหน้าไม่พอใจ เหมือนกับว่า จะมาเอาอะไรกับฉันอีก ส่งสายตามาเป็นนัยๆ ว่า ทำไมเราถึงเรื่องมากนัก แต่พอถึงเวลาที่คุยเรื่องค่าจ้างเงินเดือน กลับถามได้มากมาย ว่าได้เท่าไหร่ มีค่านั่นค่านี่หรือเปล่า ทำไมถึงไม่มีค่านั้นล่ะ ฯลฯ

• ไม่ชอบทำงานวันเสาร์ อันนี้เป็นเรื่องจริงเลยครับ ผมเองก็ประสบมาด้วยตัวเองเช่นกัน บริษัทไหนที่ยังคงมีการทำงานวันเสาร์อยู่ จะสังเกตได้เลยว่า หาเด็กจบใหม่มาทำงานยากขึ้นกว่าเดิม เพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่อยากทำงานวันเสาร์ครับ เวลาสัมภาษณ์งานถ้าเด็กรู้ว่าที่นี่ทำงานวันเสาร์ เขาก็จะตัดบริษัทนี้ออกจากสารระบบทันที และด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้หลายบริษัทเปลี่ยนแปลงวันทำงานใหม่ โดยเลิกทำงานวันเสาร์ จริงๆ เรื่องวันทำงานนั้น เป็นผลมาจากเรื่องของการสร้าง Work-Life Balance ด้วยนะครับ

• ไม่ชอบทำงานหนัก เด็กสมัยใหม่ที่ผมได้ยินหลายๆ คนบ่นให้ฟังก็คือ ทำงานหนักนิดหน่อยก็บ่น งานยุ่งยากหน่อยก็บ่น งานเครียดหน่อยก็บ่น งานมีปัญหามากก็บ่น ฯลฯ เรียกว่า อยากทำงานสบาย และได้เงินเดือนเยอะๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เด็กใหม่เหล่านี้ก็จะขอลาออก และไปหางานใหม่ทำ โดยคาดหวังว่างานใหม่ที่หานั้นจะเป็นงานที่สบายกว่าเดิม และได้เงินเดือนมากกว่าเดิม

• เปลี่ยนงานทุกปี เพื่อเพิ่มเงินเดือนให้สูงขึ้น เด็กรุ่นใหม่มีแนวคิดคล้ายๆ กันอย่างหนึ่งก็คือ จะไม่อยู่ทำงานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งนานๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่ค่อยเกิน 3 ปี บางคนเปลี่ยนงานทุกปี โดยมีความคิดว่า การเปลี่ยนงานบ่อยๆ นั้นจะทำให้ตนเองเกิดความก้าวหน้า และได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

• อยากเป็นผู้จัดการภายใน 3 ปี เด็กสมัยใหม่อยากเติบโตครับ เห็นความสำเร็จของคนอื่นที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ไม่ได้มองว่าเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง ก็เลยยึดเอาความสำเร็จนั้นมาเป็นแนวทางในการทำงาน โดยคิดว่าถ้าเขาสามารถเป็นผู้จัดการฝ่ายได้ภายใน 3 ปี ก็จะดีมาก โดยไม่คิดว่า การเป็นผู้จัดการนั้นจะต้องพัฒนา และรับผิดชอบอะไรที่มากขึ้นบ้าง ขอเพียงมีชื่อตำแหน่งว่าเป็นผู้จัดการก็พอแล้ว

• ไม่จำเป็นต้องอดทน ถ้าไม่ชอบอะไรก็ตาม ผมมักจะได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากหัวหน้า และผู้จัดการตามองค์กรต่างๆ ว่า เด็กสมัยใหม่นั้น เป็นคนที่ไม่ค่อยอดทน เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าไม่ชอบ หรือไม่ถูกใจอะไรก็ตามในการทำงาน เขาก็จะตัดสินใจลาออกได้ทันที โดยไม่ต้องคิดอะไรมากมายเหมือนคนรุ่นก่อน ที่ต้องคิดแล้วคิดอีกว่าออกไปแล้วจะไปหางานที่ไหน และจะไปทำอะไร แต่เด็กสมัยนี้เขาออกได้ทันที และมั่นใจด้วยว่า จะสามารถหางานใหม่ได้ไม่ยาก

สิ่งที่เขียนมาข้างต้น เป็นคุณลักษณะหลักๆ ที่ผมได้ยินได้ฟังมาจากเหล่าบรรดาผู้จัดการฝ่ายบุคคลของบริษัทต่างๆ ที่มาบ่นให้ฟังบ้าง และเจอกับตัวเองบ้าง สิ่งที่เราฝ่ายบุคคลจะต้องทำต่อไป ก็คือการวางแผน และปรับปรุงวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทให้สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ดึงดูดและรักษาพนักงานกลุ่มนี้ไว้สร้างผลงานให้กับบริษัทด้วย



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4893
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การอบรมพนักงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะและความรู้ของพนักงานในองค์กร ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญในการวางแผนและดำเนินการอบรมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยการอบรมนี้อาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะทั้งในทางเทคนิค การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา หรือแม้กระทั่งการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อปรับตัว เรียนรู้ระบบการทำงานขององค์กร และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ให้สำเร็จลุล่วงกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้
SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ไหน ๆ แล้วได้ยินคำว่า KPI กันอยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคนทำงานคงหลีกหนีเรื่องเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI ที่เราคุ้นเคยกันมานานนั้น จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่น่ากลัวหรือต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อหลบไม่พ้นก็หาทางเผชิญหน้ากันแบบรู้จักฉันรู้จักเธอกันไปเลย
ก่อนที่เราจะลงลึกถึงความแตกต่างของสลิปเงินเดือนระหว่างพนักงานสัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำ มาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
Agile - Way of Work เป็นการทำงานในทีมที่ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายสายงาน โดยเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างความเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้นและเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากการกำหนดเป้าหมายระยะยาวแบบมุ่งไปครั้งเดียว เป็นแบบระยะสั้นๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
วันนี้ Prosoft HRMI เราจึงนำบทความมาฝากให้ทุกคนมาทำความรู้จัก 5 Soft Skills ที่คนทำงานยุคใหม่ควรมี เพื่อให้คุณสามารถทำงานเป็นนายเทคโนโลยีได้โดยที่ไม่ถูกแย่งงานไป
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์